รู้ได้อย่างไรว่า ลูกน้อย เริ่มเครียด?

แม่และเด็ก - เครียด

รู้ได้อย่างไรว่า “ลูกน้อย เริ่มเครียด” ?! (goodfoodgoodlife)

ถ้าคุณพ่อคุณแม่ต้องเจอกับปัญหาแบบนี้...

          ลูกรักมักจะปวดท้องทุกเช้าก่อนไปโรงเรียน บางคนก็อาเจียนหลังอาหารทุก ๆ เช้า บางคนก็งอแงกันตรง ๆ ว่า หนูไม่อยากไปโรงเรียน หรือเริ่มมีนิสัยก้าวร้าวขึ้น นี่แหละค่ะเป็นสัญญาณว่า ลูกน้อยของคุณกำลังเครียด

          เด็กเครียดได้เหมือนผู้ใหญ่ค่ะ มาจากหลายสาเหตุ คือทั้งจากตัวเด็กเอง เช่น มีปัญหาสุขภาพ หรือปัญหาจากผู้เลี้ยงดู เช่น ถูกผู้ใหญ่เลี้ยงดูแบบย้ำคิดย้ำทำ เข้มงวดเกินไป หรือถูกตามใจมากเกินไป แต่เด็กบางคนก็มีปัญหาไม่ชอบสภาพแวดล้อมที่เด็กอยู่ก็เป็นได้ เช่น โรงเรียน ฯลฯ

          เด็กเล็ก ๆ เวลาเครียด เขาบอกเราไม่เป็น แต่มักจะแสดงออกด้วยอาการและพฤติกรรมต่าง ๆ แทน คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตว่าลูกคุณเป็นแบบนี้บ้างหรือเปล่า เช่น

          ร้องไห้งอแง ไม่เชื่อฟัง จนดูเหมือนเป็นเด็กดื้อ

          มีพฤติกรรมแปลก ๆ ไปจากเดิม อย่างเริ่มดูดนิ้วมือ ดึงผม ถูจมูกบ่อย ๆ

          ปวดท้อง ปวดหัว อาเจียน แบบไม่ทราบสาเหตุบ่อย ๆ

          นอนไม่หลับ ตื่นตอนกลางคืน บางคนละเมอออกมาเดิน หรือปัสสาวะรดที่นอน
          บางคนไม่กล้าแสดงออก บางคนเอาแต่ใจตนเอง

          เด็กบางคนเข้ากับคนอื่นไม่ได้ ชอบเล่นคนเดียว เก็บตัว ซึมเศร้า

          บางคนก็อาละวาดไม่หยุด แบบไม่มีเหตุผล

          ก้าวร้าว หรือเริ่มพูดโกหก

          เด็กบางคนสมาธิสั้นอยู่แล้วก็จะยิ่งเป็นมากขึ้น

          เมื่อเด็กเครียดจะขัดขวางต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก และจะมีปัญญาบุคลิกภาพเมื่อโตขึ้นด้วย ดังนั้นต้องแก้ไขค่ะ ขอแนะนำ วิธีง่าย ๆ ลดความเครียดให้แก่คุณลูกดังนี้

          ชวนเด็กออกกำลังกายที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เพราะเมื่อเหนื่อยฮอร์โมนเอ็นโดฟินส์หรือฮอร์โมนแห่งความสุขจะหลั่งออกมาทำ ให้มีความสุขขึ้น

            เพิ่มกิจกรรมที่เพลิดเพลินมีความสุขในครอบครัว เช่น อ่านนิทานให้ลูกฟัง เลี้ยงสุนัข

            ชื่นชม และให้กำลังใจในทางบวกและสุภาพกับลูกรักเสมอ ๆ เช่น "หนูเก่งมาก" "หนูเป็นเด็กดี"

            ปล่อยให้ลูกได้แสดงออกแต่ไม่ตามใจเกินไป เช่น ปล่อยลูกได้ร้องไห้ เด็กจะได้ไม่เก็บความเครียดไว้เมื่อเด็กหยุดร้องไห้ ก็อธิบายเหตุผลให้เด็กรู้ถึงข้อดีข้อเสียในเรื่องที่เด็กมีปัญหา

            ยอมรับในความสามารถของเด็กไม่บังคับให้เด็กทำในสิ่งที่ยังไม่พร้อม เช่น สอนให้เขียนหนังสือก่อนวัย

            พ่อแม่ต้องมีเหตุผล ไม่ลงโทษเด็กโดยไม่ถามหรืออธิบายเหตุผลให้เด็กเข้าใจ

            อย่ากังวลเมื่อเด็กทำผิดพลาด เพราะเป็นการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งเด็กจะรู้จักปรับตัวและแก้ไขปัญหาได้ต่อไป

          อย่าลืมนะคะว่าถ้าลูกของคุณมีความสุข เขาก็จะเป็นเด็กอารมณ์ดี และจะมีพัฒนาการที่ดีในทุก ๆ ด้านค่ะ


    
     


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
รู้ได้อย่างไรว่า ลูกน้อย เริ่มเครียด? อัปเดตล่าสุด 19 มีนาคม 2554 เวลา 14:06:32 5,621 อ่าน
TOP
x close