ผักสำหรับทารก 6 เดือน เด็กวัยนี้กินผักอะไรได้บ้าง นอกจากนมแม่แล้ว อาหารทารกมื้อแรกของลูกน้อยควรเริ่มด้วยผักอะไรดี คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ตามมาดูรายชื่อผักที่เหมาะกับเด็กทารกกันเลย
เด็กในวัย 6 เดือนขึ้นไป นอกจากน้ำนมแม่แล้ว จำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมตามวัยควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน 5 หมู่ ซึ่งมีประโยชน์สำหรับพัฒนาการของลูกน้อย และยังเป็นการฝึกให้ลูกได้ลิ้มลองรสชาติอาหารชนิดอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะ "ผัก" ถือเป็นส่วนผสมในเมนูอาหารเด็กที่คุณแม่เริ่มให้ลูกหัดกินในวัยนี้ได้เลย
ช่วงเวลานี้ คุณแม่ทั้งหลายคงจะตื่นเต้นไม่น้อย เพราะลูกจะได้กินอาหารฝีมือเราแล้ว แต่ก็ยังมีข้อสงสัยอยู่ว่าจะให้ลูกเริ่มกินผักอะไรก่อนดีนะ ? วันนี้กระปุกดอทคอมเลยมีรายชื่อผักที่เหมาะสำหรับเด็กทารกวัย 6 เดือนมาฝาก พร้อมคำแนะนำในการปรุงด้วยค่ะ
ลูกวัย 6 เดือน กินผักอะไรได้บ้าง ?
ผัก อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ ช่วยเสริมความแข็งแรงและพัฒนาการทางร่างกาย โดยเด็กทารกในวัย 6 เดือน สามารถรับประทานผักได้หลากหลาย แต่ควรเริ่มจากผักที่มีรสหวานและรสขมนิด ๆ ก่อน
1. ผักชนิดหัว อุดมไปด้วยเส้นใยวิตามินและสังกะสี อีกทั้งยังมีสารแคโรทีนอยด์ ที่ช่วยพัฒนาระบบการมองเห็นและต้านอนุมูลอิสระ ช่วยทำให้ท้องไม่ผูก และรักษากระดูกรวมถึงฟันให้แข็งแรง แถมเด็ก ๆ จะชอบเพราะมีรสหวาน สีสันสดใส ลักษณะผักนิ่ม เคี้ยวง่าย เมื่อตุ๋นเปื่อยใช้เหงือกบดเคี้ยวได้ เช่น
- แครอต
- มันเทศ
- มันฝรั่ง
- มันม่วง
- มันหวานญี่ปุ่น
- ฟักทอง
- บร็อคโคลี่
- แตงกวา
2. ผักชนิดใบ อุดมด้วยวิตามินเอ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี โคลีน คลอโรฟิลล์ โฟเลต และเกลือแร่สำคัญ อีกทั้งมีแคลเซียม แมกนีเซียม และแมงกานีส ที่ช่วยเสริมสร้างกระดูก ควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย และช่วยการทำงานระบบประสาท เด็กที่มีฟันขึ้นจะชอบกิน เพราะลักษณะใบผักอ่อนนุ่ม มีรสหวานปนขม เช่น
- ตำลึง
- ผักโขม
- ผักบุ้ง
- กวางตุ้ง
- คะน้า
- ปวยเล้ง
- บ็อคชอย
- ผักกาดขาว
- ผักกาดเขียว
- ผักกาดหอม
- ผักกาดแก้ว
- กะหล่ำปลี
3. ถั่วและธัญพืชต่าง ๆ อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ เส้นใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ และมีไขมันดี ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สามาถนำมาผสมกับอาหารเมนูต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น
- ถั่วลันเตา
- ถั่วแขก
- ถั่วฟักยาว
- ถั่วเหลือง
- ถั่วเขียว
- ถั่วแดง
- ถั่วดำ
- ถั่วขาว
- ถั่วชิกพี
- ถั่วสปลิท
- ลูกเดือย
- ลูกบัว
วิธีปรุงผักสำหรับอาหารเด็กวัย 6 เดือน
เริ่มต้นด้วยการนึ่งและบดละเอียด จะผสมทานพร้อมกับข้าวหรือบดทานเลยก็ได้ ทำเป็นน้ำต้มผักก็ดี ที่สำคัญผักต้องต้มหรือตุ๋นให้สุกเท่านั้น ห้ามนำผักดิบให้ลูกทานเด็ดขาด และควรเป็นรสธรรมชาติ ไม่ต้องใส่เครื่องปรุงใด ๆ เพราะอาจทำให้ลูกได้รับเกลือโซเดียมสูง เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง และเสี่ยงต่อการติดรสหวาน อาจทำให้ลูกไม่ยอมกินอาหารรสธรรมดาได้
กินแค่ไหน อย่างไรดี ?
ปริมาณอาหารเสริมที่เหมาะสำหรับ 1 มื้อในช่วง 6 เดือน คือ 5 ช้อนโต๊ะ และเพิ่มไปเรื่อย ๆ ต่อมื้อ จนเป็น 10-15 ช้อนโต๊ะ/มื้อ ตอนช่วงอายุ 1 ขวบปีแรก
คุณแม่อาจเลือกใช้ผักทีละอย่างซ้ำในหนึ่งเมนู นาน 4-5 วัน เพื่อตรวจสอบว่าไม่มีอาการแพ้ คือ ผื่น ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายเป็นมูกเลือด งอแง ถ้าไม่มีปัญหาอะไร ค่อยเริ่มผักชนิดใหม่ แต่ในตำราใหม่ ๆ พบว่าคุณแม่สามารถให้ลูกลองกินผักชนิดต่าง ๆ ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องทดสอบการแพ้ค่ะ
ทั้งนี้ ผลไม้และน้ำผลไม้ค่อยเริ่มเดือนถัดไป เพื่อให้ลูกได้รู้จักรสชาติของผักก่อน จะได้ไม่ติดหวาน โดยผลไม้ที่แนะนำ ได้แก่ แอปเปิ้ล พีช แพร์ สาลี่ กล้วย มะละกอ มะม่วง ผลไม้เหล่านี้ไฟเบอร์สูง จะช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายของลูกด้วย ส่วนอะโวคาโด้จะมีโอเมก้า 3 สูง เป็นสารตั้งต้นของดีเอชเอ ช่วยบำรุงสมองและสายตา สามารถให้ลูกกินได้เลยตั้งแต่เดือนที่ 6
จะว่าไปก็มีผักหลายหลายชนิดเลยที่นำมาปรุงเป็นเมนูโปรดให้ลูกได้ ทำให้ลูกไม่เบื่ออาหาร แถมได้ประโยชน์ ช่วยให้ลูกมีภาวะโภชนาการที่ดี มีพัฒนาการสมวัย ซึ่งถ้าอยากรู้ว่ามีเมนูอาหารเด็ก 6 เดือนอะไรอีกบ้าง ลองคลิกไปอ่านที่นี่เลย (อาหารเด็ก 6 เดือน ควรกินอะไร แนะแนวทางสำหรับคุณแม่มือใหม่ !)
ขอบคุณข้อมูลจาก : เฟซบุ๊ก สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ, rakluke.com, thaibabyfoodblender.com
ช่วงเวลานี้ คุณแม่ทั้งหลายคงจะตื่นเต้นไม่น้อย เพราะลูกจะได้กินอาหารฝีมือเราแล้ว แต่ก็ยังมีข้อสงสัยอยู่ว่าจะให้ลูกเริ่มกินผักอะไรก่อนดีนะ ? วันนี้กระปุกดอทคอมเลยมีรายชื่อผักที่เหมาะสำหรับเด็กทารกวัย 6 เดือนมาฝาก พร้อมคำแนะนำในการปรุงด้วยค่ะ
ลูกวัย 6 เดือน กินผักอะไรได้บ้าง ?
ผัก อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ ช่วยเสริมความแข็งแรงและพัฒนาการทางร่างกาย โดยเด็กทารกในวัย 6 เดือน สามารถรับประทานผักได้หลากหลาย แต่ควรเริ่มจากผักที่มีรสหวานและรสขมนิด ๆ ก่อน
1. ผักชนิดหัว อุดมไปด้วยเส้นใยวิตามินและสังกะสี อีกทั้งยังมีสารแคโรทีนอยด์ ที่ช่วยพัฒนาระบบการมองเห็นและต้านอนุมูลอิสระ ช่วยทำให้ท้องไม่ผูก และรักษากระดูกรวมถึงฟันให้แข็งแรง แถมเด็ก ๆ จะชอบเพราะมีรสหวาน สีสันสดใส ลักษณะผักนิ่ม เคี้ยวง่าย เมื่อตุ๋นเปื่อยใช้เหงือกบดเคี้ยวได้ เช่น
- แครอต
- มันเทศ
- มันฝรั่ง
- มันม่วง
- มันหวานญี่ปุ่น
- ฟักทอง
- บร็อคโคลี่
- แตงกวา
- ตำลึง
- ผักโขม
- ผักบุ้ง
- กวางตุ้ง
- คะน้า
- ปวยเล้ง
- บ็อคชอย
- ผักกาดขาว
- ผักกาดเขียว
- ผักกาดหอม
- ผักกาดแก้ว
- กะหล่ำปลี
- ถั่วลันเตา
- ถั่วแขก
- ถั่วฟักยาว
- ถั่วเหลือง
- ถั่วเขียว
- ถั่วแดง
- ถั่วดำ
- ถั่วขาว
- ถั่วชิกพี
- ถั่วสปลิท
- ลูกเดือย
- ลูกบัว
เริ่มต้นด้วยการนึ่งและบดละเอียด จะผสมทานพร้อมกับข้าวหรือบดทานเลยก็ได้ ทำเป็นน้ำต้มผักก็ดี ที่สำคัญผักต้องต้มหรือตุ๋นให้สุกเท่านั้น ห้ามนำผักดิบให้ลูกทานเด็ดขาด และควรเป็นรสธรรมชาติ ไม่ต้องใส่เครื่องปรุงใด ๆ เพราะอาจทำให้ลูกได้รับเกลือโซเดียมสูง เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง และเสี่ยงต่อการติดรสหวาน อาจทำให้ลูกไม่ยอมกินอาหารรสธรรมดาได้
กินแค่ไหน อย่างไรดี ?
ปริมาณอาหารเสริมที่เหมาะสำหรับ 1 มื้อในช่วง 6 เดือน คือ 5 ช้อนโต๊ะ และเพิ่มไปเรื่อย ๆ ต่อมื้อ จนเป็น 10-15 ช้อนโต๊ะ/มื้อ ตอนช่วงอายุ 1 ขวบปีแรก
คุณแม่อาจเลือกใช้ผักทีละอย่างซ้ำในหนึ่งเมนู นาน 4-5 วัน เพื่อตรวจสอบว่าไม่มีอาการแพ้ คือ ผื่น ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายเป็นมูกเลือด งอแง ถ้าไม่มีปัญหาอะไร ค่อยเริ่มผักชนิดใหม่ แต่ในตำราใหม่ ๆ พบว่าคุณแม่สามารถให้ลูกลองกินผักชนิดต่าง ๆ ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องทดสอบการแพ้ค่ะ
จะว่าไปก็มีผักหลายหลายชนิดเลยที่นำมาปรุงเป็นเมนูโปรดให้ลูกได้ ทำให้ลูกไม่เบื่ออาหาร แถมได้ประโยชน์ ช่วยให้ลูกมีภาวะโภชนาการที่ดี มีพัฒนาการสมวัย ซึ่งถ้าอยากรู้ว่ามีเมนูอาหารเด็ก 6 เดือนอะไรอีกบ้าง ลองคลิกไปอ่านที่นี่เลย (อาหารเด็ก 6 เดือน ควรกินอะไร แนะแนวทางสำหรับคุณแม่มือใหม่ !)
ขอบคุณข้อมูลจาก : เฟซบุ๊ก สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ, rakluke.com, thaibabyfoodblender.com