ลูกร้อนใน ทำไงดี ไปรู้จักสาเหตุการเกิดร้อนใน พร้อมวิธีสังเกตอาการและวิธีดูแลรักษาที่ถูกต้อง คุณแม่คนไหนกำลังสงสัยว่าลูกน้อยเป็นร้อนในหรือไม่ มาเช็กไปพร้อมกันเลยจะได้รักษาทันเวลา
ลูกน้อยวัยเด็กเล็กเป็นช่วงที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ โดยเฉพาะด้านร่างกาย เพราะเด็กวัยนี้ยังไม่สามารถพูดหรือบอกความต้องการของตัวเองได้ ทำได้เพียงแสดงอาการต่าง ๆ ผ่านสีหน้า ท่าทาง และการร้องไห้เท่านั้น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยสังเกตพวกเขาอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากบางพฤติกรรมของเขาอาจจะบ่งบอกถึงอาการเจ็บป่วยบางอย่าง
วันนี้กระปุกดอทคอมจึงได้นำความรู้เรื่องร้อนในในเด็กมาฝาก โดยมีทั้งสาเหตุการเกิด วิธีสังเกตอาการ และวิธีรักษาที่ถูกต้อง เพราะหากรู้ไวจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที และลูกน้อยจะได้ไม่ทรมานกับอาการเจ็บนี้ด้วย
ร้อนใน หรือแผลร้อนใน (Aphthous Ulcer) คืออะไร ?
ร้อนใน คือแผลขนาดเล็กและตื้น มีลักษณะสีขาวล้อมด้วยสีแดง มักเกิดขึ้นบริเวณด้านในช่องปาก เช่น กระพุ้งแก้ม เหงือก ลิ้น และริมฝีปาก สามารถขยายเป็นแผลใหญ่ได้ ทำให้รู้สึกเจ็บและรับประทานอาหารได้ยากลำบาก โดยส่วนใหญ่จะหายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยสังเกตอาการอยู่ตลอดเวลา หากมีไข้ร่วมด้วยควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคมือเท้าปากได้
สาเหตุการเกิดร้อนในในเด็ก
สำหรับอาการร้อนในนั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่
- เกิดจากอาการแพ้อาหารหรือสารระคายเคืองอื่น ๆ
- ลูกน้อยกัดปากตัวเองหรือใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็งจนเกินไปอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดแผลในช่องปากได้
- เกิดจากการติดเชื้อไวรัส กลุ่ม เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus)
- ร่างกายขาดสารอาหารจำพวกวิตามิน และแร่ธาตุ โดยเฉพาะ ธาตุเหล็ก โฟเลต รวมถึงวิตามินบี 12
- ระบบภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอลง และลูกน้อยกำลังจะไม่สบาย
- รับประทานอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนมากเกินไป
วิธีสังเกตอาการร้อนในในเด็ก
- ลูกดื่มน้ำมากกว่าปกติ
- เด็กเล็กอาจมีอาการร้องไห้และงอแงแบบไม่ทราบสาเหตุ
- เคี้ยวอาหารช้าลง เนื่องจากเจ็บแผลร้อนในในช่องปาก
- เวลารับประทานอาหารที่มีรสเค็ม หรือเผ็ด ลูกน้อยจะแสดงอาการเจ็บและร้องไห้ออกมาทันที เพราะแสบแผล
- หากแผลติดเชื้อจะมีอาการไข้ร่วมด้วย แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการรักษาและตรวจโรคมือเท้าปาก
- พบแผลในช่องปากมีลักษณะเล็กและตื้น สีขาวล้อมรอบด้วยสีแดง บริเวณริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น หรือเหงือก
วิธีดูแลรักษา อาการร้อนใน
- โดยปกติแล้วแผลร้อนในสามารถหายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากคุณแม่ทนเห็นลูกน้อยเจ็บไม่ไหวแนะนำให้ซื้อยารักษาแผลร้อนในมาทาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บ
- ทำความสะอาดมือของลูกน้อยอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้แผลร้อนในติดเชื้อ
- ให้ลูกรับประทานอาหารอ่อน ๆ โดยรสชาติต้องไม่เค็มหรือเผ็ดจนเกินไป เพราะอาจทำให้ลูกน้อยแสบแผลได้
- ผู้ปกครองต้องระวังอย่าให้ลูกน้อยเอามือไปสัมผัสแผลโดยเด็ดขาด เพราะมือของเด็กอาจมีเชื้อโรคทำให้แผลติดเชื้อและลุกลามเป็นแผลใหญ่ และหากนำมาขยี้ตา ก็อาจทำให้ติดเชื้อที่ดวงตาได้อีกด้วย
- ในช่วงที่เป็นร้อนใน แนะนำให้เปลี่ยนมาบ้วนปากด้วยน้ำเกลือแทนการแปรงฟัน เพราะนอกจากน้ำเกลือจะช่วยฆ่าเชื้อโรคในช่องปากแล้ว ยังเป็นการทำความสะอาดเพื่อให้แผลร้อนในหายเร็วขึ้นด้วย
- ให้ลูกน้อยรับประทานอาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุสูงเพื่อป้องกันการเกิดแผลร้อนในซ้ำอีกในอนาคต
- หากแผลร้อนในไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือเริ่มลุกลามไปทั่วช่องปาก บวกกับมีไข้สูงร่วมด้วย ควรรีบพบแพทย์ทันที
คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตดูนะคะ ว่าลูกน้อยมีอาการตรงกับข้อใดที่เรากล่าวมาบ้างหรือไม่ ? และหากรักษาเบื้องต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาจะดีที่สุดค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : babybonus.msf.gov.sg, parenting.firstcry.com
วันนี้กระปุกดอทคอมจึงได้นำความรู้เรื่องร้อนในในเด็กมาฝาก โดยมีทั้งสาเหตุการเกิด วิธีสังเกตอาการ และวิธีรักษาที่ถูกต้อง เพราะหากรู้ไวจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที และลูกน้อยจะได้ไม่ทรมานกับอาการเจ็บนี้ด้วย
ร้อนใน หรือแผลร้อนใน (Aphthous Ulcer) คืออะไร ?
ร้อนใน คือแผลขนาดเล็กและตื้น มีลักษณะสีขาวล้อมด้วยสีแดง มักเกิดขึ้นบริเวณด้านในช่องปาก เช่น กระพุ้งแก้ม เหงือก ลิ้น และริมฝีปาก สามารถขยายเป็นแผลใหญ่ได้ ทำให้รู้สึกเจ็บและรับประทานอาหารได้ยากลำบาก โดยส่วนใหญ่จะหายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยสังเกตอาการอยู่ตลอดเวลา หากมีไข้ร่วมด้วยควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคมือเท้าปากได้
สำหรับอาการร้อนในนั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่
- เกิดจากอาการแพ้อาหารหรือสารระคายเคืองอื่น ๆ
- ลูกน้อยกัดปากตัวเองหรือใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็งจนเกินไปอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดแผลในช่องปากได้
- เกิดจากการติดเชื้อไวรัส กลุ่ม เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus)
- ร่างกายขาดสารอาหารจำพวกวิตามิน และแร่ธาตุ โดยเฉพาะ ธาตุเหล็ก โฟเลต รวมถึงวิตามินบี 12
- ระบบภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอลง และลูกน้อยกำลังจะไม่สบาย
- รับประทานอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนมากเกินไป
- ลูกดื่มน้ำมากกว่าปกติ
- เด็กเล็กอาจมีอาการร้องไห้และงอแงแบบไม่ทราบสาเหตุ
- เคี้ยวอาหารช้าลง เนื่องจากเจ็บแผลร้อนในในช่องปาก
- เวลารับประทานอาหารที่มีรสเค็ม หรือเผ็ด ลูกน้อยจะแสดงอาการเจ็บและร้องไห้ออกมาทันที เพราะแสบแผล
- หากแผลติดเชื้อจะมีอาการไข้ร่วมด้วย แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการรักษาและตรวจโรคมือเท้าปาก
- พบแผลในช่องปากมีลักษณะเล็กและตื้น สีขาวล้อมรอบด้วยสีแดง บริเวณริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น หรือเหงือก
วิธีดูแลรักษา อาการร้อนใน
- โดยปกติแล้วแผลร้อนในสามารถหายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากคุณแม่ทนเห็นลูกน้อยเจ็บไม่ไหวแนะนำให้ซื้อยารักษาแผลร้อนในมาทาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บ
- ทำความสะอาดมือของลูกน้อยอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้แผลร้อนในติดเชื้อ
- ให้ลูกรับประทานอาหารอ่อน ๆ โดยรสชาติต้องไม่เค็มหรือเผ็ดจนเกินไป เพราะอาจทำให้ลูกน้อยแสบแผลได้
- ผู้ปกครองต้องระวังอย่าให้ลูกน้อยเอามือไปสัมผัสแผลโดยเด็ดขาด เพราะมือของเด็กอาจมีเชื้อโรคทำให้แผลติดเชื้อและลุกลามเป็นแผลใหญ่ และหากนำมาขยี้ตา ก็อาจทำให้ติดเชื้อที่ดวงตาได้อีกด้วย
- ในช่วงที่เป็นร้อนใน แนะนำให้เปลี่ยนมาบ้วนปากด้วยน้ำเกลือแทนการแปรงฟัน เพราะนอกจากน้ำเกลือจะช่วยฆ่าเชื้อโรคในช่องปากแล้ว ยังเป็นการทำความสะอาดเพื่อให้แผลร้อนในหายเร็วขึ้นด้วย
- ให้ลูกน้อยรับประทานอาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุสูงเพื่อป้องกันการเกิดแผลร้อนในซ้ำอีกในอนาคต
- หากแผลร้อนในไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือเริ่มลุกลามไปทั่วช่องปาก บวกกับมีไข้สูงร่วมด้วย ควรรีบพบแพทย์ทันที
คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตดูนะคะ ว่าลูกน้อยมีอาการตรงกับข้อใดที่เรากล่าวมาบ้างหรือไม่ ? และหากรักษาเบื้องต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาจะดีที่สุดค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : babybonus.msf.gov.sg, parenting.firstcry.com