ลูกถ่ายเหลว ถ่ายบ่อย อาการแบบนี้ผิดปกติไหม ใช่ท้องเสียหรือเปล่า มาทำความเข้าใจว่าลูกถ่ายเหลวเป็นเพราะอะไร พร้อมวิธีดูแลเบื้องต้นเมื่อเจ้าตัวน้อยถ่ายเหลว ที่พ่อแม่มือใหม่ควรรู้
มีคุณพ่อคุณแม่หลายท่านพบว่าลูกถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว วันหนึ่งเกือบสิบครั้ง ต้องเช็ดล้างกันไม่หยุดไม่หย่อน โดยเฉพาะช่วงแรกเกิด - 1 เดือน ทำให้สงสัยและเป็นกังวลเล็ก ๆ ว่านี่เป็นเรื่องปกติหรือว่าลูกท้องเสียกันแน่ ?
วันนี้กระปุกดอทคอมจะมาช่วยไขข้อข้องใจว่าอาการลูกถ่ายเหลวเกิดจากอะไร การดูแลสุขภาพเด็กเบื้องต้นควรทำอย่างไรดี รวมไปถึงวิธีสังเกตง่าย ๆ หากการขับถ่ายของลูกผิดปกติ เพื่อจะได้หาทางแก้ไขได้ทันท่วงที
ลูกถ่ายเหลว ใช่อาการท้องเสียหรือไม่
อาการท้องเสีย หมายถึง อาการที่ถ่ายอุจจาระออกมามีลักษณะเหลวปนน้ำ หรือถ่ายเป็นน้ำ และมักถ่ายบ่อยตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเป็นมูกเลือดตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไป ภายใน 24 ชั่วโมง อาการเหล่านี้หากมีอาการไม่เกิน 2 สัปดาห์ จะเรียกว่า "ท้องเสียเฉียบพลัน" แต่หากนานเกิน 2 สัปดาห์จะเรียกว่า "ท้องเสียเรื้อรัง"
สำหรับเด็กที่ถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว บางครั้งก็ยากที่จะบอกว่าท้องเสียหรือไม่ เนื่องจากอุจจาระของเด็กตามปกติจะมีลักษณะเหลว โดยเฉพาะในทารกแรกเกิดที่กินนมแม่ จะถ่ายอุจจาระเนื้อนิ่มและวันละหลายครั้ง มีลักษณะเหมือนซุปถั่วหรือซุปฟักทอง เป็นเมือก เป็นน้ำ หรือเป็นฟองบางครั้งก็ได้ ถือว่าเป็นปกติ เพราะนมแม่ย่อยง่ายและดูดซึมได้เกือบหมด อุจจาระจึงมีกากน้อย น้ำเยอะและถ่ายบ่อยได้
แต่หากอุจจาระมีมูกเลือดปน หรือเป็นสีเขียวตลอดเวลา หรือเด็กขับถ่ายเป็นน้ำบ่อยครั้งกว่าปกติ ให้เอะใจไว้เลยว่าอาจมีปัญหาท้องเสียจากการติดเชื้อหรือแพ้อาหารกลุ่มเสี่ยง ควรพาเจ้าตัวน้อยไปพบแพทย์
สาเหตุท้องเสียในเด็ก
ลูกท้องเสียเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
เกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่สามารถฆ่าเชื้อได้หลายชนิด หลังจากกินยาไปแล้วประมาณ 3-5 วัน เมื่อแบคทีเรียที่รักษาสมดุลถูกกำจัดออกไป เชื้อชนิดอื่นก็เกิดการขยายเพิ่มจำนวน ลุกลาม และทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินอาหารและท้องเสียได้ ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อหยุดยาเหล่านี้ อาการท้องเสียก็จะหายได้เอง
การติดเชื้อทางเดินอาหาร
มีเชื้อหลายชนิดที่เป็นสาเหตุให้ท้องเสียในเด็กได้ เช่น บิดมีตัว บิดไม่มีตัว อหิวาต์ เป็นต้น ท้องเสียชนิดนี้อาจมีไข้ ถ่ายเหลว เพลีย ถ่ายเป็นมูก หรือเป็นมูกเลือดได้
การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส
เกิดจากการดื่มน้ำหรืออาหารที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อโรค ซึ่งบางครั้งอาจมาจากมือของลูกน้อยที่หยิบจับของเล่นเข้าปาก อมของเล่นที่มีเชื้อโรค หรือจากภาชนะใส่อาหารก็ได้ ซึ่งมักทำให้ลูกมีอาการท้องเสีย ท้องร่วง ร่วมกับอาเจียนด้วย
ระบบการย่อยการดูดซึมของลำไส้ทำงานผิดปกติ
นอกจากนี้ยังเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีก เช่น การแพ้นมวัว อารมณ์เครียด กังวล ตื่นเต้น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ เป็นต้น
วิธีดูแลเบื้องต้น เมื่อลูกถ่ายเหลว
หากลูกน้อยมีอาการถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว แต่ยังร่าเริง กินอาหารได้ เล่นได้ตามปกติ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลเบื้องต้นได้ตามนี้
1. สำหรับเด็กที่กินนมแม่ สามารถกินนมแม่ต่อไปได้โดยไม่ต้องหยุด
2. ให้ลูกดื่มน้ำเกลือแร่โออาร์เอส เพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
3. งดดื่มน้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เพราะอาจทำให้ถ่ายท้องบ่อยขึ้น
4. งดดื่มนมสด หรืออาจให้ดื่มที่เหมาะกับภาวะท้องเสีย เช่น นมถั่วเหลือง หรือนมที่ไม่มีแล็กโตส
5. กินอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย อย่างโจ๊ก ข้าวต้ม ทั้งนี้ควรทานครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ เพื่อให้ลำไส้ค่อย ๆ ย่อยและดูดซึมอาหาร
6. งดอาหารย่อยยากและอาหารที่มีไขมันสูง
7. ตรวจดูว่าลูกมีไข้หรือไม่ ถ้ามี ให้เช็ดตัวลดไข้
8. ระมัดระวังเรื่องความสะอาด ล้างมือทุกครั้งหลังออกจากห้องน้ำ หลังเปลี่ยนผ้าอ้อม จะช่วยเรื่องสุขอนามัย รวมทั้งตรวจสอบความสะอาดของขวดนมและอุปกรณ์การเตรียมอาหารให้ลูกทุกครั้ง
9. ไม่ควรให้เด็กกินยาหยุดถ่าย เพราะถึงแม้จะช่วยให้อาการถ่ายท้องทุเลาลงไปชั่วคราว แต่ไม่สามารถรักษาการขาดน้ำได้ พร้อมกันนี้เชื้อก็ยังคงอยู่ รวมถึงอาจทำให้เกิดปัญหาลำไส้ไม่ทำงาน ทำให้ท้องอืด อาเจียน กินอาหารไม่ได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ลูกมากขึ้น
10. เมื่อลูกมีอาการถ่ายเหลวเนื่องจากท้องเสียนานเกิน 6 ชั่วโมง ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที
ลูกถ่ายเหลวแบบไหนที่ต้องพบแพทย์
แม้ว่าอาการถ่ายเหลวในทารกจะเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ไม่ใช่จะสามารถวางใจได้ เพราะหากเข้าข่ายอาการท้องเสียขึ้นมาก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูก ๆ เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยสังเกตว่าลูกมีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่
- ถ่ายอุจจาระบ่อยและมีลักษณะเหลวเป็นน้ำ ตั้งแต่ 3 ครั้งใน 1 วัน
- ถ่ายเหลวมีมูกเลือดปนอย่างน้อย 1 ครั้ง
- มีผื่นขึ้นตามร่างกาย ตัวเหลืองตาเหลือง
- มีอาการอาเจียนบ่อย
- มีไข้ร่วมด้วย หรือมีอาการชัก
- หายใจหอบลึก
- ไม่ยอมกินนมหรืออาหาร
หากลูกน้อยมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากจะทำให้ลูกเสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกายมากเกินไป ถ่ายปัสสาวะน้อยลง ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย และถ้าร่างกายขาดน้ำมากอาจเกิดอาการช็อกและถึงขั้นเสียชีวิตได้
รู้ทันอาการเมื่อลูกถ่ายเหลวกันไปแล้ว พ่อแม่มือใหม่คงคลายความกังวลไปได้บ้าง อย่างไรก็ตาม หากลูกถ่ายเหลว ถ่ายบ่อย มีมูก อย่าเพิ่งวินิจฉัยโรคเองว่าลูกแพ้อาหาร แล้วจึงงดอาหาร เพราะจะยิ่งทำให้ทั้งลูกและแม่ขาดสารอาหาร และอาการยังไม่ดีขึ้นด้วย ดังนั้นควรไปพบแพทย์และตรวจอุจจาระให้ละเอียดจะดีกว่านะคะ
วันนี้กระปุกดอทคอมจะมาช่วยไขข้อข้องใจว่าอาการลูกถ่ายเหลวเกิดจากอะไร การดูแลสุขภาพเด็กเบื้องต้นควรทำอย่างไรดี รวมไปถึงวิธีสังเกตง่าย ๆ หากการขับถ่ายของลูกผิดปกติ เพื่อจะได้หาทางแก้ไขได้ทันท่วงที
ลูกถ่ายเหลว ใช่อาการท้องเสียหรือไม่
อาการท้องเสีย หมายถึง อาการที่ถ่ายอุจจาระออกมามีลักษณะเหลวปนน้ำ หรือถ่ายเป็นน้ำ และมักถ่ายบ่อยตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเป็นมูกเลือดตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไป ภายใน 24 ชั่วโมง อาการเหล่านี้หากมีอาการไม่เกิน 2 สัปดาห์ จะเรียกว่า "ท้องเสียเฉียบพลัน" แต่หากนานเกิน 2 สัปดาห์จะเรียกว่า "ท้องเสียเรื้อรัง"
สำหรับเด็กที่ถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว บางครั้งก็ยากที่จะบอกว่าท้องเสียหรือไม่ เนื่องจากอุจจาระของเด็กตามปกติจะมีลักษณะเหลว โดยเฉพาะในทารกแรกเกิดที่กินนมแม่ จะถ่ายอุจจาระเนื้อนิ่มและวันละหลายครั้ง มีลักษณะเหมือนซุปถั่วหรือซุปฟักทอง เป็นเมือก เป็นน้ำ หรือเป็นฟองบางครั้งก็ได้ ถือว่าเป็นปกติ เพราะนมแม่ย่อยง่ายและดูดซึมได้เกือบหมด อุจจาระจึงมีกากน้อย น้ำเยอะและถ่ายบ่อยได้
ลูกท้องเสียเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
เกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่สามารถฆ่าเชื้อได้หลายชนิด หลังจากกินยาไปแล้วประมาณ 3-5 วัน เมื่อแบคทีเรียที่รักษาสมดุลถูกกำจัดออกไป เชื้อชนิดอื่นก็เกิดการขยายเพิ่มจำนวน ลุกลาม และทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินอาหารและท้องเสียได้ ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อหยุดยาเหล่านี้ อาการท้องเสียก็จะหายได้เอง
การติดเชื้อทางเดินอาหาร
มีเชื้อหลายชนิดที่เป็นสาเหตุให้ท้องเสียในเด็กได้ เช่น บิดมีตัว บิดไม่มีตัว อหิวาต์ เป็นต้น ท้องเสียชนิดนี้อาจมีไข้ ถ่ายเหลว เพลีย ถ่ายเป็นมูก หรือเป็นมูกเลือดได้
การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส
เกิดจากการดื่มน้ำหรืออาหารที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อโรค ซึ่งบางครั้งอาจมาจากมือของลูกน้อยที่หยิบจับของเล่นเข้าปาก อมของเล่นที่มีเชื้อโรค หรือจากภาชนะใส่อาหารก็ได้ ซึ่งมักทำให้ลูกมีอาการท้องเสีย ท้องร่วง ร่วมกับอาเจียนด้วย
ระบบการย่อยการดูดซึมของลำไส้ทำงานผิดปกติ
นอกจากนี้ยังเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีก เช่น การแพ้นมวัว อารมณ์เครียด กังวล ตื่นเต้น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ เป็นต้น
หากลูกน้อยมีอาการถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว แต่ยังร่าเริง กินอาหารได้ เล่นได้ตามปกติ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลเบื้องต้นได้ตามนี้
1. สำหรับเด็กที่กินนมแม่ สามารถกินนมแม่ต่อไปได้โดยไม่ต้องหยุด
2. ให้ลูกดื่มน้ำเกลือแร่โออาร์เอส เพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
3. งดดื่มน้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เพราะอาจทำให้ถ่ายท้องบ่อยขึ้น
4. งดดื่มนมสด หรืออาจให้ดื่มที่เหมาะกับภาวะท้องเสีย เช่น นมถั่วเหลือง หรือนมที่ไม่มีแล็กโตส
5. กินอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย อย่างโจ๊ก ข้าวต้ม ทั้งนี้ควรทานครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ เพื่อให้ลำไส้ค่อย ๆ ย่อยและดูดซึมอาหาร
6. งดอาหารย่อยยากและอาหารที่มีไขมันสูง
7. ตรวจดูว่าลูกมีไข้หรือไม่ ถ้ามี ให้เช็ดตัวลดไข้
8. ระมัดระวังเรื่องความสะอาด ล้างมือทุกครั้งหลังออกจากห้องน้ำ หลังเปลี่ยนผ้าอ้อม จะช่วยเรื่องสุขอนามัย รวมทั้งตรวจสอบความสะอาดของขวดนมและอุปกรณ์การเตรียมอาหารให้ลูกทุกครั้ง
9. ไม่ควรให้เด็กกินยาหยุดถ่าย เพราะถึงแม้จะช่วยให้อาการถ่ายท้องทุเลาลงไปชั่วคราว แต่ไม่สามารถรักษาการขาดน้ำได้ พร้อมกันนี้เชื้อก็ยังคงอยู่ รวมถึงอาจทำให้เกิดปัญหาลำไส้ไม่ทำงาน ทำให้ท้องอืด อาเจียน กินอาหารไม่ได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ลูกมากขึ้น
10. เมื่อลูกมีอาการถ่ายเหลวเนื่องจากท้องเสียนานเกิน 6 ชั่วโมง ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที
แม้ว่าอาการถ่ายเหลวในทารกจะเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ไม่ใช่จะสามารถวางใจได้ เพราะหากเข้าข่ายอาการท้องเสียขึ้นมาก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูก ๆ เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยสังเกตว่าลูกมีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่
- ถ่ายอุจจาระบ่อยและมีลักษณะเหลวเป็นน้ำ ตั้งแต่ 3 ครั้งใน 1 วัน
- ถ่ายเหลวมีมูกเลือดปนอย่างน้อย 1 ครั้ง
- มีผื่นขึ้นตามร่างกาย ตัวเหลืองตาเหลือง
- มีอาการอาเจียนบ่อย
- มีไข้ร่วมด้วย หรือมีอาการชัก
- หายใจหอบลึก
- ไม่ยอมกินนมหรืออาหาร
หากลูกน้อยมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากจะทำให้ลูกเสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกายมากเกินไป ถ่ายปัสสาวะน้อยลง ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย และถ้าร่างกายขาดน้ำมากอาจเกิดอาการช็อกและถึงขั้นเสียชีวิตได้
รู้ทันอาการเมื่อลูกถ่ายเหลวกันไปแล้ว พ่อแม่มือใหม่คงคลายความกังวลไปได้บ้าง อย่างไรก็ตาม หากลูกถ่ายเหลว ถ่ายบ่อย มีมูก อย่าเพิ่งวินิจฉัยโรคเองว่าลูกแพ้อาหาร แล้วจึงงดอาหาร เพราะจะยิ่งทำให้ทั้งลูกและแม่ขาดสารอาหาร และอาการยังไม่ดีขึ้นด้วย ดังนั้นควรไปพบแพทย์และตรวจอุจจาระให้ละเอียดจะดีกว่านะคะ
ข้อมูลจาก : mamaexpert.com, doctor.or.th, breastfeedingthai.com