
โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือโรค OCD เกิดขึ้นได้หลายปัจจัยรวมทั้งการเลี้ยงดูของพ่อแม่ และความผิดปกติทางพันธุกรรมจากยีนที่คนในครอบครัวเคยเป็น วันนี้กระปุกดอทคอมมีเกร็ดความรู้การสังเกต 5 พฤติกรรมของลูกว่าเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือไม่ ? แล้วจะช่วยป้องกันลูกรักให้ห่างไกลจากโรคย้ำคิดย้ำทำได้อย่างไร ไปดูข้อมูลดี ๆ จากนิตยสาร รักลูก กันเลยค่ะ
หากลูกมีพฤติกรรมทำและคิดบางอย่างซ้ำ ๆ วนเวียนอยู่อย่างนั้นตลอด นี่อาจเป็นสัญญาณแรก ๆ ของโรคย้ำคิดย้ำทำ ที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยอนุบาล
โรคย้ำคิดย้ำทำ
ย้ำคิดย้ำทำ เป็นความวิตกกังวลเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไปคิดซ้ำ ๆ หมกมุ่น คิดแต่เรื่องเดิม ๆ ซึ่งเด็กจะรู้ตัวว่าคิดซ้ำ คิดมากเกินไป และไม่ต้องการคิด แต่ก็หยุดคิดไม่ได้ จะรู้สึกทุกข์ทรมานกับสิ่งที่ตัวเองเป็น แล้วทำซ้ำ ๆ มากจนผิดปกติ เพื่อลดความกังวลที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่คิด
การคิดและทำซ้ำ ไม่เป็นโรคได้ แต่เมื่อไหร่ก็ตาม ที่เด็กคิดและเริ่มทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ วนเวียน จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเด็ก เกิดนอนไม่หลับเพราะคิดตลอดเวลา ไม่มีสมาธิ ส่งผลต่อการเข้าสังคม ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รวมทั้งส่งผลต่อการเรียน อาการแบบนี้ย่อมผิดปกติ และอาจมาควบคู่กับโรคสมาธิสั้น โรคกล้ามเนื้อกระดูก หรือโรคที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำ ๆ ที่ผิดปกติ เป็นต้น
อาการคิดซ้ำ ๆ ทำซ้ำ ๆ อาจเริ่มได้ตั้งแต่วัยอนุบาล แล้วสะสมอาการย้ำคิดย้ำทำ จนเห็นได้ชัดเจนในวัยประถมต้น โดยเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำได้ในช่วงประถมปลายเป็นต้นไป ซึ่งระยะเวลาที่เป็นนั้น เด็กจะมีพฤติกรรมคิดและทำซ้ำนานเป็นเดือน ๆ และอาจต่อเนื่องยาวเป็นปี ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน
สาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัย อาทิ การทำงานของสมองผิดปกติ สารเคมีในสมองหลั่งออกมาผิดปกติ พันธุกรรมจากยีนที่คนในครอบครัวเคยเป็น หรือเกิดจากการเลี้ยงดู การอบรมสั่งสอนของผู้ปกครอง เป็นต้น
จับตา 5 อาการย้ำคิดย้ำทำ
เด็กอาจมีอาการหรือแสดงพฤติกรรมดังนี้ โดยจะพบ 3 พฤติกรรมแรกเป็นส่วนใหญ่





เสี่ยงพัฒนาเป็นโรคซึมเศร้า
เมื่อย้ำคิดย้ำทำมาก ๆ อาการรุนแรงมากขึ้น เด็กจะมีความรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่ง ไม่มีความภาคภูมิใจในตัวเอง ตัวเองไม่มีคุณค่า จนอยู่กับความคิดความรู้สึก แล้วลุกขึ้นมาไม่ได้ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเอาใจใส่ อาจกลายเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการฆ่าตัวตายได้ในอนาคต
พ่อแม่คือ "ยา" บำบัดที่ดีที่สุด
สิ่งหนึ่งที่ทำให้สุขภาพจิตของเด็ก ๆ ดีขึ้น มาจากพ่อแม่เป็นอันดับแรก ตามด้วยการบำบัดโดยจิตแพทย์เด็ก การปรับความคิดพฤติกรรมบำบัดคอร์สละ 2-3 เดือน และรักษาด้วยยาปรับสารเคมีในสมองในรายที่รุนแรงเป็นอันดับสุดท้าย



"4 อย่า" ป้องกันลูกจากโรคย้ำคิดย้ำทำ




เด็กที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ บางคนพบว่าเป็นเด็กฉลาดมี IQ ดี คุณพ่อคุณแม่ควรพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสด้วยการชี้ทางให้ลูกอย่างถูกต้องได้ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ปีที่ 33 ฉบับที่ 392 กันยายน 2558