
การใช้วิธี Time-out หรือขอเวลานอก กับเด็ก ๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจและใจเย็นให้มากค่ะ วันนี้กระปุกดอทคอมมีเคล็ดลับดี ๆ มาแนะนำกันค่ะ หากวิธี Time-out ใช้ได้ผลก็ดีไปค่ะ แต่หากใช้ไม่ได้ผลและเด็กรู้สึกต่อต้านหรือแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมคุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็น ๆ ค่ะ และต้องทำตั้งแต่ลูกยังเล็กแบบค่อยเป็นค่อยไปค่ะ พร้อมแล้วเราไปดูคำแนะนำดี ๆ จากนิตยสาร MODERNMOM กันค่ะ ^^
คุณพ่อคุณแม่และคุณครูหลาย ๆ ท่านมักจะถามแอนนี่อยู่บ่อย ๆ ว่า "เด็กเล็ก ๆ ทำผิดแล้วจะลงโทษอย่างไร" หรือ "อ้าว! ไม่ให้ตีแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าผิด" และอีกหลาย ๆ คำถามที่เกิดขึ้น เมื่อปัจจุบันมีคำแนะนำไม่ให้ดุด่าว่าลูกแรง ๆ หรือตีลูก ซึ่งแอนนี่ดีใจที่ทุกคนเข้าใจความสำคัญเรื่องนี้กันมากขึ้น ดังนั้น จึงเห็นการใช้ Time-out กันอย่างแพร่หลาย บางห้องเรียนมีเก้าอี้ Time-out เตรียมไว้ ให้เด็กเล็ก ๆ กันเลยทีเดียว
ประเด็นที่แอนนี่อยากให้ความสนใจกันมากขึ้นก็คือ เราใช้ Time-out กันอย่างถูกต้องแล้วหรือยัง โดยเฉพาะกับเด็กเล็กวัย 1-3 ขวบ เพราะแน่นอนใช้ถูกผลดีตามมา ใช้ไม่ถูกต้องมีเกิดผลเสียตามมาเช่นกัน

ขอให้ทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า Time-out ไม่ใช่การลงโทษ แต่เป็นการให้เวลาเพื่อสงบสติอารมณ์เมื่อหนูน้อยกำลังอาละวาดหรือเพื่อหยุดทำพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ นึกถึงเวลาดูกีฬา แล้วโค้ชหรือนักกีฬาขอ Time-out เพื่อออกมาหยุดและตั้งกลยุทธ์การต่อสู้กันใหม่ให้ดีขึ้นค่ะ

The American Academy of Pediatrics (AAP) แนะนำว่าสามารถใช้ Time-out กับหนูน้อยวัย 1 ขวบขึ้นไป แต่ควรใช้เวลาสั้น ๆ เท่านั้นนะคะ
6 เทคนิคใช้ Time-out






คุณพ่อคุณแม่ต้องมั่นใจว่า เมื่อ Time-out ลูกแล้วลูกต้องหยุดนิ่งจากกิจกรรมอันแสนสนุกทุกชนิด บางครั้งคุณแม่ให้ไป Time-out ในห้องตัวเองเงียบ ๆ แต่ในห้องมีของเล่นเพียบหรือไปนั่งเก้าอี้เงียบ ๆ คนเดียวเพราะลูกไม่ทำอะไรสักอย่างที่คุณแม่บอก แต่เผอิญว่าสำหรับลูกแล้วการไปนั่งคนเดียวนั้นยังดีกว่าทำสิ่งที่คุณสั่ง อันนี้ Time-out ก็ไม่ได้ผลเช่นกันค่ะ ขอยกตัวอย่างลูกสาวตัวน้อยของแอนนี่เองละกันนะคะ เมื่อเข้า 3 ขวบถึงวัยเข้าโรงเรียน น้องร้องไห้หนักมาก ร้องดังด้วย (ครูบอก) รบกวนการเรียนในห้อง คุณครูจึงต้องให้ Time-out ไปอยู่ห้องครูใหญ่ ผ่านไปสักระยะน้องก็ยังร้องไห้หนักอยู่ แอนนี่เลยลองคุยกับลูกเล่น ๆ แบบไม่ถามเรื่องร้องไห้เลย คุยกันไปมาได้ความว่า "หนูชอบห้องครูใหญ่ พี่ที่ดูแลใจดี แถมได้เล่นคอมพิวเตอร์คนเดียวไม่ต้องแบ่งใคร เกมก็สนุกด้วย" แป่ว! นั่นไง Time-out กลายเป็น Time-in ซะงั้น อย่างงี้เป็นใครก็คงร้องไห้ดัง ๆ จะได้ไปห้องครูใหญ่ดีกว่า จริงไหมคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Vol.20 No.236 มิถุนายน 2558