วิธีแก้เด็กสมาธิสั้น สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ควรฝึกฝนเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของลูก ๆ ด้วยการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ แต่ถ้ายังมืดแปดด้านเพราะไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรดี ลองมาทำความรู้จักกับโรคสมาธิสั้นของเด็ก ๆ กันก่อนเลยค่ะ
เด็กสมาธิสั้น
คือเด็กที่มีปัญหาของการควบคุมตนเองไม่ได้
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในเด็กอายุก่อน 7 ปี
แต่อาการมักจะเด่นชัดเมื่อเด็กมีอายุ 4-5 ปี โดยจะมีอาการวอกแวก
มีปัญหาในการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซนเป็นลิง ใจร้อน
มักจะทำอะไรโดยไม่ทันได้คิด และไม่มีสมาธิ
สำหรับพฤติกรรมในเด็กเล็กจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อย ๆ
ถ้าเป็นเด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด
เป็นต้น ซึ่งในทางการแพทย์ระบุว่าสาเหตุที่เด็กเป็นโรคสมาธิสั้นนั้น
เป็นเพราะว่ามีความผิดปกติของสารสื่อนำประสาท
ซึ่งทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเซลล์ประสาทตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่ง
จึงทำให้สมองบางส่วนที่ทำหน้าที่สร้างความเอาใจใส่
และทำหน้าที่ยับยั้งให้เคลื่อนไหวช้าลงทำงานไม่ดีเท่าที่ควร
ซึ่งปัญหาเหล่านี้คงกำลังเป็นที่หนักอกหนักใจของคุณพ่อคุณแม่หลายคนกันอยู่
แต่ก็ไม่ต้องเครียดไปค่ะ เพราะปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้
ส่วนผู้ปกครองคนไหนที่กำลังสงสัยอยู่ว่าลูกของคุณเป็นเด็กสมาธิสั้นหรือเปล่า
ให้ลองสังเกตพฤติกรรมของลูก ๆ
ว่ามีพฤติกรรมดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นหรือไม่
หากแน่ชัดแล้วว่าลูกของคุณมีอาการสมาธิสั้น
ก็ให้ลองบำบัดด้วยวิธีเหล่านี้ได้เลยค่ะ
รักษาด้วยยา
การรักษาที่ตรงจุดที่สุด ก็คือ การให้เด็กกินยาเพิ่มสมาธิ ซึ่งยาประเภทนี้เป็นยากระตุ้นสมองให้ตื่นตัว (ไม่ใช่ยากดประสาท) ดังนั้นเด็กจะรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น มีสมาธิดีขึ้น สงบขึ้น และควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น แต่การที่จะให้เด็กกินยานั้นผู้ปกครองจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อแพทย์จะได้จัดยาให้เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับเด็ก
ฝึกฝนให้ควบคุมตัวเอง
การที่จะฝึกให้เด็กควบคุมตนเองได้ คุณพ่อคุณแม่ควรจัดสรรกิจวัตรประจำวันของเด็ก ๆ ให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอตามเวลาที่กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นเวลาตื่นนอน เวลารับประทานอาหาร อาบน้ำ ไปโรงเรียน ทำการบ้าน หรือเข้านอน เป็นต้น นอกจากนี้ควรฝึกฝนให้เด็กมีสมาธิจดจ่ออยู่กับงานที่กำลังทำได้ต่อเนื่อง ประมาณ 20-30 นาที โดยเน้นให้เด็กนั่งอยู่กับที่ ทำงานจนเสร็จก่อนที่จะลุกไปทำอย่างอื่น ซึ่งในช่วงแรกคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิดและคอยให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้เด็กทำได้สำเร็จ และเมื่อเด็ก ๆ สามารถทำได้แล้ว ควรให้คำชมหรือให้รางวัลกับลูกตามความเหมาะสม เพื่อเด็กจะได้รู้สึกภูมิใจในตัวเองและต่อไปจะได้มีความตั้งใจมากขึ้น
ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
คุณพ่อคุณแม่จะต้องจัดสภาพแวดล้อมของบ้านให้เป็นระเบียบ ซึ่งภายในบ้านต้องไม่รกรุงรังและไม่วุ่นวายมากเกินไป เช่น จัดเก็บของเล่นต่าง ๆ ให้เข้าที่และพ้นจากสายตาเด็ก โดยใส่ตู้ ลิ้นชัก หรือตะกร้าให้เรียบร้อย เพื่อเป็นการไม่ให้สิ่งของหรือวัตถุเหล่านี้มากระตุ้นเด็กให้เกิดความวอกแวกหรือเปลี่ยนความสนใจง่าย ๆ นอกจากนี้เวลาเด็กทำการบ้าน คุณพ่อคุณแม่ควรจัดหามุมสงบ ๆ ให้กับลูก ซึ่งห้องต้องไม่กว้างเกินไป ไม่มีคนเดินไปมาบ่อย ๆ และไม่ควรเปิดทีวีเสียงดัง ซึ่งอาจเป็นการทำลายสมาธิของเด็ก ๆ ได้
สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่ลูกมีอาการสมาธิสั้น ลองนำวิธีเหล่านี้ไปใช้กันดูนะคะ ฝึกฝนบ่อย ๆ เพื่อให้เด็กรู้จักรับผิดชอบและมีสมาธิดีมากขึ้น แต่ทั้งนี้พฤติกรรมของเด็ก ๆ จะดีขึ้นหรือไม่นั้น ก็อยู่ที่การดูแลเอาใจใส่ของพ่อแม่ด้วย เพราะยารักษาที่ดีที่สุดก็คือ ความรักความใกล้ชิดจากครอบครัวนั่นเองค่ะ
รักษาด้วยยา
การรักษาที่ตรงจุดที่สุด ก็คือ การให้เด็กกินยาเพิ่มสมาธิ ซึ่งยาประเภทนี้เป็นยากระตุ้นสมองให้ตื่นตัว (ไม่ใช่ยากดประสาท) ดังนั้นเด็กจะรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น มีสมาธิดีขึ้น สงบขึ้น และควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น แต่การที่จะให้เด็กกินยานั้นผู้ปกครองจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อแพทย์จะได้จัดยาให้เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับเด็ก
ฝึกฝนให้ควบคุมตัวเอง
การที่จะฝึกให้เด็กควบคุมตนเองได้ คุณพ่อคุณแม่ควรจัดสรรกิจวัตรประจำวันของเด็ก ๆ ให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอตามเวลาที่กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นเวลาตื่นนอน เวลารับประทานอาหาร อาบน้ำ ไปโรงเรียน ทำการบ้าน หรือเข้านอน เป็นต้น นอกจากนี้ควรฝึกฝนให้เด็กมีสมาธิจดจ่ออยู่กับงานที่กำลังทำได้ต่อเนื่อง ประมาณ 20-30 นาที โดยเน้นให้เด็กนั่งอยู่กับที่ ทำงานจนเสร็จก่อนที่จะลุกไปทำอย่างอื่น ซึ่งในช่วงแรกคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิดและคอยให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้เด็กทำได้สำเร็จ และเมื่อเด็ก ๆ สามารถทำได้แล้ว ควรให้คำชมหรือให้รางวัลกับลูกตามความเหมาะสม เพื่อเด็กจะได้รู้สึกภูมิใจในตัวเองและต่อไปจะได้มีความตั้งใจมากขึ้น
คุณพ่อคุณแม่จะต้องจัดสภาพแวดล้อมของบ้านให้เป็นระเบียบ ซึ่งภายในบ้านต้องไม่รกรุงรังและไม่วุ่นวายมากเกินไป เช่น จัดเก็บของเล่นต่าง ๆ ให้เข้าที่และพ้นจากสายตาเด็ก โดยใส่ตู้ ลิ้นชัก หรือตะกร้าให้เรียบร้อย เพื่อเป็นการไม่ให้สิ่งของหรือวัตถุเหล่านี้มากระตุ้นเด็กให้เกิดความวอกแวกหรือเปลี่ยนความสนใจง่าย ๆ นอกจากนี้เวลาเด็กทำการบ้าน คุณพ่อคุณแม่ควรจัดหามุมสงบ ๆ ให้กับลูก ซึ่งห้องต้องไม่กว้างเกินไป ไม่มีคนเดินไปมาบ่อย ๆ และไม่ควรเปิดทีวีเสียงดัง ซึ่งอาจเป็นการทำลายสมาธิของเด็ก ๆ ได้
สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่ลูกมีอาการสมาธิสั้น ลองนำวิธีเหล่านี้ไปใช้กันดูนะคะ ฝึกฝนบ่อย ๆ เพื่อให้เด็กรู้จักรับผิดชอบและมีสมาธิดีมากขึ้น แต่ทั้งนี้พฤติกรรมของเด็ก ๆ จะดีขึ้นหรือไม่นั้น ก็อยู่ที่การดูแลเอาใจใส่ของพ่อแม่ด้วย เพราะยารักษาที่ดีที่สุดก็คือ ความรักความใกล้ชิดจากครอบครัวนั่นเองค่ะ