ลูกอ้วนไปหรือผอมไป เป็นปัญหาหนักอกที่คุณแม่ผู้อ่าน Modem Mom เขียนจดหมายเข้ามาถามกันเยอะเลยค่ะว่าเกิดจากอะไร และจะเพิ่มน้ำหนักลูกได้อย่างไร เมื่อฉบับที่แล้ว ป้าเกศกับ Madame นำเสนอเมนูควบคุมน้ำหนักสำหรับเด็กเจ้าเนื้อไปแล้ว ฉบับนี้จึงเอาใจคุณแม่ที่ลูกน้ำหนักน้อยกันบ้าง ตามมาเลยค่ะ
ผอมกับสมส่วน... เส้นบาง ๆ ที่ห่างกับเพียงเสี้ยว
อ๊ะ...ฟังก่อนค่ะ อย่าเพิ่มพยักหน้าเห็นด้วย หรือส่ายหน้าไม่เห็นด้วยกับ Madame เพราะความเชื่อเรื่องความแข็งแรงของเจ้าตัวเล็ก ที่ตกทอดกันมาหลายต่อหลายรุ่น ว่าหลานที่อ้วนท้วนจ้ำม่ำนั้นแข็งแรง และคุณแม่หลาย ๆ คนก็มักจะสงสัยว่า "ทำไม้...ทำไมลูกเราถึงดูผอมกว่าลูกคนอื่นนะ"
อย่าเพิ่งกล่าวหาเจ้าตัวเล็กที่บ้านอย่างนั้นเลยค่ะ ลองพิจารณาดี ๆ สิคะว่าลูกคุณแม่ผอมจริง ๆ หรือว่าสมส่วนไม่อ้วนจ้ำม่ำ ถ้าเป็นอย่างหลังล่ะก็อย่าไปเหมารวมว่าเขาผอมเชียวนะ เพราะเด็กที่ร่างกายสมส่วนนั้น ระบบในร่างกายของเขา นำพลังงานจากอาหารที่กินเข้าไปใช้อย่างสอดคล้อง กับการใช้พลังงานออกมาต่างหากล่ะ
ถ้าคุณแม่ศึกษาข้อมูลพัฒนาการของเด็กวัย 1-3 ปีแล้วจะเห็นว่า ลูกวัยนี้มีเพื่อนเยอะและติดเล่นมาก ยิ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่ที่ฝากลูกไว้กับเนิร์สเซอรี่ เขาจะทำกิจกรรม (เล่น) มากกว่ากิน อีกทั้งวัยนี้กำลังเบื่ออาหารเสียด้วยสิ ลูกวัย 1-3 ปีจึงเป็นประเภทกินน้อยแต่ใช้พลังงานมาก ทำให้มีชั้นไขมันน้อย การที่คุณแม่จะตัดสินว่าลูกผอมไปหรือไม่นั้น จึงไม่ควรวัดด้วยสายตาหรือจากรูปร่าภายนอกเพียงอย่างเดียว เพราะรูปร่างของลูกที่เห็น ก็จะขึ้นอยู่กับโครงสร้างของร่างกาย ที่รับมรดกตกทอดมาจากพันธุกรรมของพ่อแม่ประกอบด้วย แต่ให้ดูจากกราฟในสมุดบันทึกประจำตัวของลูกเล่มสีชมพู ว่าน้ำหนักของลูกเพิ่มขึ้นตามที่ควรจะเป็นหรือไม่ต่างหากค่ะ
ลูกช่างเลือก (กิน) มีผลต่อน้ำหนักตัว
"นู่นก็กิน นี่ก็กิน นั่นก็กิน..ไม่เห็นน้ำหนักตัวจะขึ้นสักที" Madame เคยได้ยินคุณแม่หลายคนบ่นอย่างนี้ค่ะ เพราะว่าลูกเป็นคนกินเก่ง แถมยังไม่ดื้อไม่ซนเท่าไหร่ จะว่าใช้พลังงานเยอะก็คงไม่ใช่ คุณแม่เองก็คิดหาสาเหตุจนปวดเศียรเวียนแกล้า ยังนึกไม่ออกใช่ไหมล่ะคะ?
ป้าเกศบอกว่า การที่ลูกกิน กิน และกิน แต่น้ำหนักไม่ขึ้นเช่นนี้ ให้คุณแม่ลองสังเกตดูสิว่า อาหารที่ลูกกินเข้าไปนั้นเป็นอาหารประเภทไหนกัน เพราะหลัก ๆ แล้วสารอาหารสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่ให้พลังงานมาก เช่น ข้าว แป้ง น้ำตาล เนื้อสัตว์ และกลุ่มที่ให้พลังงานน้อย เช่น ผัก ผลไม้ ฯลฯ ถ้าลูกเลือกกินเฉพาะอาหารให้พลังงานน้อย ก็จะทำให้มีน้ำหนักตัวน้อย เพราะผักและผลไม้จะเป็นกลุ่มที่มีกากใยมากแต่ให้พลังงานน้อย แถมไม่มีพลังงานที่สำคัญอีกต่างหาก และถ้าสังเกตจะเห็นว่าส่วนใหญ่เด็กที่ไม่ชอบเนื้อสัตว์จะกินผัก ส่งผลให้ดูเหมือนผอม ส่วนเด็กที่กินเนื้อสัตว์จะไม่ชอบกินผัก ก็จะทำให้อ้วน ถึงบางอ้อหรือยังคะว่า ทำไมการเลือกกินอาหารหรือไม่กินอาหารบางชนิดของลูก จึงส่งผลต่อน้ำหนักตัวได้ ว่าแต่ที่ลูกกิน ๆๆ แต่ยังไม่อ้วนนั้น เป็นเพราะกินอาหารกลุ่มหลังหรือเปล่า อย่างนี้ต้องลองสังเกตค่ะ
4 วิธีช่วยเพิ่มน้ำหนักลูก
ก่อนที่คุณแม่จะเริ่มปรับเมนูให้เจ้าตัวเล็ก ต้องจดบันทึกสัก 3-5 วันว่าแต่ละวันให้ลูกกินอะไร กินเวลาใด และลูกมีกิจกรรมอะไรบ้าง ดูว่าพลังงานที่ลูกได้รับในแต่ละวัน เพียงพอต่อความต้องการหรือขาดสารอาหารตัวใดไปบ้าง เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นก่อนปรับเมนูด้วย 4 วิธีต่อไปนี้
สังเกตอาหาร คุณแม่ควรเปรียบเทียบปริมาณอาหารและกิจรรมที่ลูกทำว่า เจ้าตัวเล็กกินอาหารน้อยกว่าการใช้พลังงานหรือไม่ หากกินอาหารพลังงานน้อย คุณแม่ควรเพิ่มปริมาณให้มากขึ้น แต่ถ้าลูกเรากินอาหารได้มากอยู่แล้ว ให้ดูที่กลุ่มของอาหารค่ะ เพราะบางทีเราอาจจะให้ลูกกินอาหารกลุ่มที่จำเป็นต่อร่างกาย คือเนื้อ นม ไข่ ไม่เพียงพอก็ทำให้ลูกผอมได้
ปรับวิธีการปรุง วิธีการปรุงอาหารสำหรับเจ้าตัวเล็กที่น้ำหนักน้อยนี่ ตรงข้ามกับวิธีปรุงอาหารให้ลูกน้ำหนักเกินเลยค่ะ คือจากที่คุณแม่เคยแต่ต้มและตุ๋นบ่อยๆ ก็อาจจะเพิ่มอาหารผัดมากขึ้น หรือทอดน้ำมันท่วมบ้าง ส่วนใหญ่ลูกอายุ 1 ปีขึ้นไป ก็เริ่มกินอาหารทอดได้แล้ว แต่คุณแม่ควรระวังเรื่องระบบย่อยของลูกด้วยนะคะ
เพิ่มส่วนผสม วัตถุดิบบางอย่างก็มีผลต่อการเพิ่มน้ำหนักของลูก หากคุณแม่เพิ่มส่วนผสมของอาหารที่ให้ลูกกินด้วยนม เนยสด แป้ง หรือน้ำตาลบ้าง ก็จะช่วยเพิ่มน้ำหนักลูกได้พอสมควร เช่น ที่เคยกินแต่ก๋วยเตี๋ยวน้ำใส ก็ลองให้ลูกกินผัดซีอิ๊วดูบ้าง
จัดอาหารมื้อว่าง นอกจากอาหารมื้อหลักแล้ว คุณแม่ได้จัดอาหารมื้อว่างให้ลูกบ้างหรือเปล่าคะ เพราะบางทีลูกอาจจะกินอาหารหลัก 3 มื้อน้อยอยู่แล้ว การที่คุณแม่แบ่งให้มีมื้ออาหารว่าง เช่น แซนด์วิชง่าย ๆ กับนม หรือเครื่องดื่มปั่นที่มีส่วนผสมของนมหรือน้ำหวาน ก็จะเป็นการเติมพลังงานที่เสียไประหว่างมื้อให้ลูกได้
ลูกผอมไปหรือเปล่า...
เป็นคำถามที่คุณแม่ผู้อ่านเขียนจดหมาย เข้ามาถามกันเยอะมากเลยค่ะ ป้าเกศเลยมีเทคนิคการคำนวณน้ำหนักแบบง่าย ๆ ที่เทียบน้ำหนักตามวัยมาฝากค่ะ
ส่วนคุณแม่ที่เจ้าตัวเล็กอายุระหว่าง 2-6 ปี อาจจะลองคำนวณน้ำหนักลูกด้วยสูตร
[อายุ (ปี×2]+8=น้ำหนักที่ควรจะหนักในปัจจุบัน
Did You Know :
คนจะมองว่าขนมหรือาหารที่มีกะทิกินแล้วอ้วนง่าย จะเป็นการส่งเสริม หรือเลือกเมนูอาหารที่ไม่ดีให้แก่ลูก แต่จริง ๆ แล้วกะทิมีประโยชน์ และดีต่อสุขภาพ เพราะกะทิเมื่อเข้าสู่กระบวนการย่อยแล้ว จะกลายเป็นน้ำมันที่ดีต่อร่างกายตัวหนึ่งเลยทีเดียว แต่ไม่ใช่กินทุกมื้อ จนกลายเป็นกินมากเกินไปนะคะ
ขนมหวานแบบไทย ๆ ที่มีแป้ง และน้ำตาล เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ฯลฯ คุณแม่ก็สามารถให้ลูกกินเป็นเมนูเพิ่มน้ำหนักได้ แต่ควรระวังไม่ให้กินมากจนลูกติดรสหวาน
ถึงแม้คุณแม่ต้องเพิ่มน้ำหนักให้ลูกก็ควรดัดแปลงวิธีการปรุงบ้าง ไม่ใช่ทอดทุกมื้อ หรือถ้ามื้อไหนมีอาหารทอดก็ควรมีผักสด เช่น มะเขือเทศ แตงกวา แครอต ฯลฯ หั่นให้ลูกกินเป็นเครื่องเคียงบ้าง นอกจากจะแก้เลี่ยนแล้ว ลูกยังได้รับวิตามินและเบต้าแคโรทีนด้วย
8 อาหารแคลอรีสูง
นอกจากวิธีการปรุงอาหารแล้ว การเลือกวัตถุดิบมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร ก็มีความสำคัญต่อน้ำหนักลูกเช่นกัน เพื่อให้คุณแม่เพิ่มน้ำหนักลูกได้จากสารอาหารประเภทแป้ง และไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ป้าเกศเลยแนะนำวัตถุดิบที่อุดมไปด้วยแคลอรีในอันดับต้น ๆ 8 ชนิดนี้ค่ะ
1. นมสดครบส่วน หรือนมที่ลูกกินเป็นประจำนี่แหละค่ะ เพราะเป็นนมที่มีไขมันครบถ้วน ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีดึงไขมันออกอย่างนมพร่องมันเนยหรือนมขาดมันเนย จะเป็นนมผสมสำหรับเด็กทั่วไปก็ได้ค่ะ
2. ปลาไขมันสูง เช่น ปลาอินทรี ปลาดุก ปลาสวาย สำหรับคุณแม่ลูกเล็กแนะนำว่าควรให้ลูกกินปลาอินทรีกับปลาสวายค่ะ เพราะเป็นปลาที่ค่อนข้างเอาก้างออกง่าย ส่วนปลาดุกจะมีก้างเล็ก ๆ เยอะและเอาออกยากกว่า
3. ถั่วต่าง ๆ โดยเฉพาะถั่วลิสง คุณแม่อาจจะเพิ่มเข้ามาเป็นส่วนประกอบของอาหาร แต่ต้องต้มให้เปื่อยนุ่ม เพราะถ้าถั่วไม่สุก ลูกอาจจะแน่นท้อง ท้องอืด และเกิดลมในกระเพาะได้
4. ไข่ อาหารสารพัดประโยชน์ที่นอกจากต้มตุ๋นแล้ว คุณแม่ยังทำเป็นไข่ผัดหรือปรุงด้วย น้ำมัน เช่น ออมเล็ต ไข่คน ไข่เจียว ไข่ดาว หรือถ้าลูกยังชื่นชอบไข่ตุ๋นอยู่ ก็ใส่นมที่ลูกกินลงไปเพิ่มพลังงาน เนื้อไข่ตุ๋นยังจะนวลนุ่มขึ้นอีกด้วย
5. ผักที่มีแป้งมากและให้พลังงานสูง ไม่ใช่ว่าต้องการเพิ่มน้ำหนักลูกแล้ว คุณแม่จะหลีกเลี่ยงอาหารกากใยอย่างผักนะคะ เพราะผักจำพวกพืชหัว เช่น แครอต มันฝรั่ง หรือผักที่มีรสหวานอย่างข้าวโพด ฟักทอง ก็มีแป้งมากและให้หลังงานสูง ทำให้ลูกอ้วนได้เหมือนกัน
6. อาโวคาโด เป็นผลไม้ที่มีไขมันสูง และเป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพ คุณแม่จะเอามาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของอาหาร หรือจะครูดให้ลูกกินเหมือนกล้วยเลยก็ให้ผลไม่ต่างกัน
7. องุ่น เป็นผลไม้ลูกเล็ก ๆ ที่คนควบคุมน้ำหนักไม่ควรกินเกิน 8-10 ผลต่อครั้ง เพราะองุ่นเป็นผลไม้ที่กินปริมาณน้อย แต่ให้พลังงานสูง
8. กล้วยหอม เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารต่างๆ ค่อนข้างครบถ้วน และยังเป็นผลไม้ที่มีแป้งมากอีกด้วย
เอาล่ะค่ะ ป้าเกศและ Madame สอนวิทยายุทธ์ปรับอาหารเพิ่มน้ำหนักลูกให้หมดทุกกระบวนแล้ว คราวนี้ถึงเวลาคุณแม่จะไปแสดงฝีมือปรุงจานอร่อยแล้วล่ะค่ะ
คานาเป้ทรงเครื่อง
(สำหรับลูก 3 ปี)
ส่วนผสม
ขนมปังขาวหรือขนมปังโฮลวีตกดเป็นรูปต่าง ๆ
เนยสดชนิดจืด 1-2 ช้อนชา
ไข่ไก่ต้ม เฉพาะไข่แดง 2 ฟอง
ตับไก่ต้มสุก 1 คู่
มายองเนส 1-2 ช้อนโต๊ะ
ฟักทองต้มสุกหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1 ช้อนโต๊ะ
แครอตต้มสุกหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต่า 1 ช้อนโต๊ะ
องุ่นเขียวลอกเปลือกผ่า 8 ซีก 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. บดไข่แดงและตับไก่ให้ละเอียดตามด้วยมายองเนสแล้วคนให้เข้ากัน แล้วใส่ผักทั้ง 2 ชนิดลงคนพอเข้ากัน พักไว้
2. ทาเนยบนแผ่นขนมปัง จากนั้นนำส่วนผสมข้อ 1 ที่เตรียมไว้ ตักวางด้านบน ตกแต่งด้วยเนื้อองุ่นเขียว และราดซอสมะเขือเทศกับมายองเนส
Tip :
คุณแม่อาจตกแต่งหน้าด้วยผักหรือผลไม้สดที่หั่นเป็นรูปร่างต่าง ๆ
ซุปปลาข้น
(สำหรับลูก 2 ปี)
ส่วนผสม
เนื้อปลาอินทรีต้มสุก ยีเฉพาะเนื้อ 2 ช้อนโต๊ะ
นมที่ลูกกินประจำ ½ ถ้วยตวง
เนยสดชนิดจืด 1-2 ช้อนชา
หอมหัวใหญ่สับละเอียด 1-2 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น 1/8 ช้อนชา
วิธีทำ
ตั้งกระทะร้อน ๆ ใส่เนยผัดกับหอมหัวใหญ่ให้สุก สังเกตจากสีของหอมหัวใหญ่ที่ค่อย ๆ ใสขึ้น จากนั้นใส่นมลงไปคนตลอดเวลา แล้วใส่เนื้อปลาตาม พอเดือดยกลง แต่งหน้าด้วยผักที่มีสีสันสวยงาม
Tip :
ผักที่คุณแม่จะใช้แต่งหน้า เช่น บร็อกโคลีหั่นซีก ผักชีฝรั่ง ฯลฯ ต้องต้มสุกก่อนนะคะ
ไอศกรีมกล้วยหอม
(สำหรับลูก 1 ปี)
ส่วนผสม
นมผสมที่ลูกกิน 12 ช้อนโต๊ะ
น้ำต้มสุก 1 ถ้วยตวง
กล้วยหอม 1 ผล
วิธีทำ
1.ก่อนอื่นละลายนมผสมกับน้ำคนให้เข้ากันใส่ลงในโถเตรียมปั่น แล้วหั่นกล้วยหอมลงไป แล้วปั่นให้เข้ากัน จนเนื้อเนียนละเอียดดี
2.ตักใส่กล่องแช่ช่องแข็งประมาณ 30 นาที แล้วเอาออกมาขูดให้เป็นเกล็ดและปั่นใหม่อีกรอบ เมื่อเนื้อเนียนดีแล้วก็เอาไปแช่แข็งอีกครั้ง
Tip :
ผลไม้ที่นำมาเป็นส่วนผสม คุณแม่สามารถดัดแปลงไปได้ตามฤดูกาล หรือจะใส่เนื้อผลไม้อื่นลงไปหลาย ๆ ชนิดก็จะเพิ่มธรรมชาติ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
อ๊ะ...ฟังก่อนค่ะ อย่าเพิ่มพยักหน้าเห็นด้วย หรือส่ายหน้าไม่เห็นด้วยกับ Madame เพราะความเชื่อเรื่องความแข็งแรงของเจ้าตัวเล็ก ที่ตกทอดกันมาหลายต่อหลายรุ่น ว่าหลานที่อ้วนท้วนจ้ำม่ำนั้นแข็งแรง และคุณแม่หลาย ๆ คนก็มักจะสงสัยว่า "ทำไม้...ทำไมลูกเราถึงดูผอมกว่าลูกคนอื่นนะ"
อย่าเพิ่งกล่าวหาเจ้าตัวเล็กที่บ้านอย่างนั้นเลยค่ะ ลองพิจารณาดี ๆ สิคะว่าลูกคุณแม่ผอมจริง ๆ หรือว่าสมส่วนไม่อ้วนจ้ำม่ำ ถ้าเป็นอย่างหลังล่ะก็อย่าไปเหมารวมว่าเขาผอมเชียวนะ เพราะเด็กที่ร่างกายสมส่วนนั้น ระบบในร่างกายของเขา นำพลังงานจากอาหารที่กินเข้าไปใช้อย่างสอดคล้อง กับการใช้พลังงานออกมาต่างหากล่ะ
ถ้าคุณแม่ศึกษาข้อมูลพัฒนาการของเด็กวัย 1-3 ปีแล้วจะเห็นว่า ลูกวัยนี้มีเพื่อนเยอะและติดเล่นมาก ยิ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่ที่ฝากลูกไว้กับเนิร์สเซอรี่ เขาจะทำกิจกรรม (เล่น) มากกว่ากิน อีกทั้งวัยนี้กำลังเบื่ออาหารเสียด้วยสิ ลูกวัย 1-3 ปีจึงเป็นประเภทกินน้อยแต่ใช้พลังงานมาก ทำให้มีชั้นไขมันน้อย การที่คุณแม่จะตัดสินว่าลูกผอมไปหรือไม่นั้น จึงไม่ควรวัดด้วยสายตาหรือจากรูปร่าภายนอกเพียงอย่างเดียว เพราะรูปร่างของลูกที่เห็น ก็จะขึ้นอยู่กับโครงสร้างของร่างกาย ที่รับมรดกตกทอดมาจากพันธุกรรมของพ่อแม่ประกอบด้วย แต่ให้ดูจากกราฟในสมุดบันทึกประจำตัวของลูกเล่มสีชมพู ว่าน้ำหนักของลูกเพิ่มขึ้นตามที่ควรจะเป็นหรือไม่ต่างหากค่ะ
ลูกช่างเลือก (กิน) มีผลต่อน้ำหนักตัว
"นู่นก็กิน นี่ก็กิน นั่นก็กิน..ไม่เห็นน้ำหนักตัวจะขึ้นสักที" Madame เคยได้ยินคุณแม่หลายคนบ่นอย่างนี้ค่ะ เพราะว่าลูกเป็นคนกินเก่ง แถมยังไม่ดื้อไม่ซนเท่าไหร่ จะว่าใช้พลังงานเยอะก็คงไม่ใช่ คุณแม่เองก็คิดหาสาเหตุจนปวดเศียรเวียนแกล้า ยังนึกไม่ออกใช่ไหมล่ะคะ?
ป้าเกศบอกว่า การที่ลูกกิน กิน และกิน แต่น้ำหนักไม่ขึ้นเช่นนี้ ให้คุณแม่ลองสังเกตดูสิว่า อาหารที่ลูกกินเข้าไปนั้นเป็นอาหารประเภทไหนกัน เพราะหลัก ๆ แล้วสารอาหารสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่ให้พลังงานมาก เช่น ข้าว แป้ง น้ำตาล เนื้อสัตว์ และกลุ่มที่ให้พลังงานน้อย เช่น ผัก ผลไม้ ฯลฯ ถ้าลูกเลือกกินเฉพาะอาหารให้พลังงานน้อย ก็จะทำให้มีน้ำหนักตัวน้อย เพราะผักและผลไม้จะเป็นกลุ่มที่มีกากใยมากแต่ให้พลังงานน้อย แถมไม่มีพลังงานที่สำคัญอีกต่างหาก และถ้าสังเกตจะเห็นว่าส่วนใหญ่เด็กที่ไม่ชอบเนื้อสัตว์จะกินผัก ส่งผลให้ดูเหมือนผอม ส่วนเด็กที่กินเนื้อสัตว์จะไม่ชอบกินผัก ก็จะทำให้อ้วน ถึงบางอ้อหรือยังคะว่า ทำไมการเลือกกินอาหารหรือไม่กินอาหารบางชนิดของลูก จึงส่งผลต่อน้ำหนักตัวได้ ว่าแต่ที่ลูกกิน ๆๆ แต่ยังไม่อ้วนนั้น เป็นเพราะกินอาหารกลุ่มหลังหรือเปล่า อย่างนี้ต้องลองสังเกตค่ะ
4 วิธีช่วยเพิ่มน้ำหนักลูก
ก่อนที่คุณแม่จะเริ่มปรับเมนูให้เจ้าตัวเล็ก ต้องจดบันทึกสัก 3-5 วันว่าแต่ละวันให้ลูกกินอะไร กินเวลาใด และลูกมีกิจกรรมอะไรบ้าง ดูว่าพลังงานที่ลูกได้รับในแต่ละวัน เพียงพอต่อความต้องการหรือขาดสารอาหารตัวใดไปบ้าง เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นก่อนปรับเมนูด้วย 4 วิธีต่อไปนี้
สังเกตอาหาร คุณแม่ควรเปรียบเทียบปริมาณอาหารและกิจรรมที่ลูกทำว่า เจ้าตัวเล็กกินอาหารน้อยกว่าการใช้พลังงานหรือไม่ หากกินอาหารพลังงานน้อย คุณแม่ควรเพิ่มปริมาณให้มากขึ้น แต่ถ้าลูกเรากินอาหารได้มากอยู่แล้ว ให้ดูที่กลุ่มของอาหารค่ะ เพราะบางทีเราอาจจะให้ลูกกินอาหารกลุ่มที่จำเป็นต่อร่างกาย คือเนื้อ นม ไข่ ไม่เพียงพอก็ทำให้ลูกผอมได้
ปรับวิธีการปรุง วิธีการปรุงอาหารสำหรับเจ้าตัวเล็กที่น้ำหนักน้อยนี่ ตรงข้ามกับวิธีปรุงอาหารให้ลูกน้ำหนักเกินเลยค่ะ คือจากที่คุณแม่เคยแต่ต้มและตุ๋นบ่อยๆ ก็อาจจะเพิ่มอาหารผัดมากขึ้น หรือทอดน้ำมันท่วมบ้าง ส่วนใหญ่ลูกอายุ 1 ปีขึ้นไป ก็เริ่มกินอาหารทอดได้แล้ว แต่คุณแม่ควรระวังเรื่องระบบย่อยของลูกด้วยนะคะ
เพิ่มส่วนผสม วัตถุดิบบางอย่างก็มีผลต่อการเพิ่มน้ำหนักของลูก หากคุณแม่เพิ่มส่วนผสมของอาหารที่ให้ลูกกินด้วยนม เนยสด แป้ง หรือน้ำตาลบ้าง ก็จะช่วยเพิ่มน้ำหนักลูกได้พอสมควร เช่น ที่เคยกินแต่ก๋วยเตี๋ยวน้ำใส ก็ลองให้ลูกกินผัดซีอิ๊วดูบ้าง
จัดอาหารมื้อว่าง นอกจากอาหารมื้อหลักแล้ว คุณแม่ได้จัดอาหารมื้อว่างให้ลูกบ้างหรือเปล่าคะ เพราะบางทีลูกอาจจะกินอาหารหลัก 3 มื้อน้อยอยู่แล้ว การที่คุณแม่แบ่งให้มีมื้ออาหารว่าง เช่น แซนด์วิชง่าย ๆ กับนม หรือเครื่องดื่มปั่นที่มีส่วนผสมของนมหรือน้ำหวาน ก็จะเป็นการเติมพลังงานที่เสียไประหว่างมื้อให้ลูกได้
เป็นคำถามที่คุณแม่ผู้อ่านเขียนจดหมาย เข้ามาถามกันเยอะมากเลยค่ะ ป้าเกศเลยมีเทคนิคการคำนวณน้ำหนักแบบง่าย ๆ ที่เทียบน้ำหนักตามวัยมาฝากค่ะ
อายุ | น้ำหนัก |
แรกเกิด |
ประมาณ 3 กก. |
4-5 เดือน | 4-5 เดือน |
1 ปี | เพิ่มขึ้น 3 เท่า จากน้ำหนักแรกเกิดหรือประมาณ 9 กก. |
2 ปี | เพิ่มขึ้น 4 เท่า จากน้ำหนักแรกเกิดหรือประมาณ 12 กก. |
2-5 ปี |
เพิ่มประมาณ 2.3-2.5 กก./ปี |
ส่วนคุณแม่ที่เจ้าตัวเล็กอายุระหว่าง 2-6 ปี อาจจะลองคำนวณน้ำหนักลูกด้วยสูตร
[อายุ (ปี×2]+8=น้ำหนักที่ควรจะหนักในปัจจุบัน
Did You Know :
คนจะมองว่าขนมหรือาหารที่มีกะทิกินแล้วอ้วนง่าย จะเป็นการส่งเสริม หรือเลือกเมนูอาหารที่ไม่ดีให้แก่ลูก แต่จริง ๆ แล้วกะทิมีประโยชน์ และดีต่อสุขภาพ เพราะกะทิเมื่อเข้าสู่กระบวนการย่อยแล้ว จะกลายเป็นน้ำมันที่ดีต่อร่างกายตัวหนึ่งเลยทีเดียว แต่ไม่ใช่กินทุกมื้อ จนกลายเป็นกินมากเกินไปนะคะ
ขนมหวานแบบไทย ๆ ที่มีแป้ง และน้ำตาล เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ฯลฯ คุณแม่ก็สามารถให้ลูกกินเป็นเมนูเพิ่มน้ำหนักได้ แต่ควรระวังไม่ให้กินมากจนลูกติดรสหวาน
ถึงแม้คุณแม่ต้องเพิ่มน้ำหนักให้ลูกก็ควรดัดแปลงวิธีการปรุงบ้าง ไม่ใช่ทอดทุกมื้อ หรือถ้ามื้อไหนมีอาหารทอดก็ควรมีผักสด เช่น มะเขือเทศ แตงกวา แครอต ฯลฯ หั่นให้ลูกกินเป็นเครื่องเคียงบ้าง นอกจากจะแก้เลี่ยนแล้ว ลูกยังได้รับวิตามินและเบต้าแคโรทีนด้วย
นอกจากวิธีการปรุงอาหารแล้ว การเลือกวัตถุดิบมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร ก็มีความสำคัญต่อน้ำหนักลูกเช่นกัน เพื่อให้คุณแม่เพิ่มน้ำหนักลูกได้จากสารอาหารประเภทแป้ง และไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ป้าเกศเลยแนะนำวัตถุดิบที่อุดมไปด้วยแคลอรีในอันดับต้น ๆ 8 ชนิดนี้ค่ะ
1. นมสดครบส่วน หรือนมที่ลูกกินเป็นประจำนี่แหละค่ะ เพราะเป็นนมที่มีไขมันครบถ้วน ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีดึงไขมันออกอย่างนมพร่องมันเนยหรือนมขาดมันเนย จะเป็นนมผสมสำหรับเด็กทั่วไปก็ได้ค่ะ
2. ปลาไขมันสูง เช่น ปลาอินทรี ปลาดุก ปลาสวาย สำหรับคุณแม่ลูกเล็กแนะนำว่าควรให้ลูกกินปลาอินทรีกับปลาสวายค่ะ เพราะเป็นปลาที่ค่อนข้างเอาก้างออกง่าย ส่วนปลาดุกจะมีก้างเล็ก ๆ เยอะและเอาออกยากกว่า
3. ถั่วต่าง ๆ โดยเฉพาะถั่วลิสง คุณแม่อาจจะเพิ่มเข้ามาเป็นส่วนประกอบของอาหาร แต่ต้องต้มให้เปื่อยนุ่ม เพราะถ้าถั่วไม่สุก ลูกอาจจะแน่นท้อง ท้องอืด และเกิดลมในกระเพาะได้
4. ไข่ อาหารสารพัดประโยชน์ที่นอกจากต้มตุ๋นแล้ว คุณแม่ยังทำเป็นไข่ผัดหรือปรุงด้วย น้ำมัน เช่น ออมเล็ต ไข่คน ไข่เจียว ไข่ดาว หรือถ้าลูกยังชื่นชอบไข่ตุ๋นอยู่ ก็ใส่นมที่ลูกกินลงไปเพิ่มพลังงาน เนื้อไข่ตุ๋นยังจะนวลนุ่มขึ้นอีกด้วย
5. ผักที่มีแป้งมากและให้พลังงานสูง ไม่ใช่ว่าต้องการเพิ่มน้ำหนักลูกแล้ว คุณแม่จะหลีกเลี่ยงอาหารกากใยอย่างผักนะคะ เพราะผักจำพวกพืชหัว เช่น แครอต มันฝรั่ง หรือผักที่มีรสหวานอย่างข้าวโพด ฟักทอง ก็มีแป้งมากและให้หลังงานสูง ทำให้ลูกอ้วนได้เหมือนกัน
6. อาโวคาโด เป็นผลไม้ที่มีไขมันสูง และเป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพ คุณแม่จะเอามาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของอาหาร หรือจะครูดให้ลูกกินเหมือนกล้วยเลยก็ให้ผลไม่ต่างกัน
7. องุ่น เป็นผลไม้ลูกเล็ก ๆ ที่คนควบคุมน้ำหนักไม่ควรกินเกิน 8-10 ผลต่อครั้ง เพราะองุ่นเป็นผลไม้ที่กินปริมาณน้อย แต่ให้พลังงานสูง
8. กล้วยหอม เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารต่างๆ ค่อนข้างครบถ้วน และยังเป็นผลไม้ที่มีแป้งมากอีกด้วย
เอาล่ะค่ะ ป้าเกศและ Madame สอนวิทยายุทธ์ปรับอาหารเพิ่มน้ำหนักลูกให้หมดทุกกระบวนแล้ว คราวนี้ถึงเวลาคุณแม่จะไปแสดงฝีมือปรุงจานอร่อยแล้วล่ะค่ะ
คานาเป้ทรงเครื่อง
(สำหรับลูก 3 ปี)
ส่วนผสม
ขนมปังขาวหรือขนมปังโฮลวีตกดเป็นรูปต่าง ๆ
เนยสดชนิดจืด 1-2 ช้อนชา
ไข่ไก่ต้ม เฉพาะไข่แดง 2 ฟอง
ตับไก่ต้มสุก 1 คู่
มายองเนส 1-2 ช้อนโต๊ะ
ฟักทองต้มสุกหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1 ช้อนโต๊ะ
แครอตต้มสุกหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต่า 1 ช้อนโต๊ะ
องุ่นเขียวลอกเปลือกผ่า 8 ซีก 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. บดไข่แดงและตับไก่ให้ละเอียดตามด้วยมายองเนสแล้วคนให้เข้ากัน แล้วใส่ผักทั้ง 2 ชนิดลงคนพอเข้ากัน พักไว้
2. ทาเนยบนแผ่นขนมปัง จากนั้นนำส่วนผสมข้อ 1 ที่เตรียมไว้ ตักวางด้านบน ตกแต่งด้วยเนื้อองุ่นเขียว และราดซอสมะเขือเทศกับมายองเนส
Tip :
คุณแม่อาจตกแต่งหน้าด้วยผักหรือผลไม้สดที่หั่นเป็นรูปร่างต่าง ๆ
ซุปปลาข้น
(สำหรับลูก 2 ปี)
ส่วนผสม
เนื้อปลาอินทรีต้มสุก ยีเฉพาะเนื้อ 2 ช้อนโต๊ะ
นมที่ลูกกินประจำ ½ ถ้วยตวง
เนยสดชนิดจืด 1-2 ช้อนชา
หอมหัวใหญ่สับละเอียด 1-2 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น 1/8 ช้อนชา
วิธีทำ
ตั้งกระทะร้อน ๆ ใส่เนยผัดกับหอมหัวใหญ่ให้สุก สังเกตจากสีของหอมหัวใหญ่ที่ค่อย ๆ ใสขึ้น จากนั้นใส่นมลงไปคนตลอดเวลา แล้วใส่เนื้อปลาตาม พอเดือดยกลง แต่งหน้าด้วยผักที่มีสีสันสวยงาม
Tip :
ผักที่คุณแม่จะใช้แต่งหน้า เช่น บร็อกโคลีหั่นซีก ผักชีฝรั่ง ฯลฯ ต้องต้มสุกก่อนนะคะ
ไอศกรีมกล้วยหอม
(สำหรับลูก 1 ปี)
ส่วนผสม
นมผสมที่ลูกกิน 12 ช้อนโต๊ะ
น้ำต้มสุก 1 ถ้วยตวง
กล้วยหอม 1 ผล
วิธีทำ
1.ก่อนอื่นละลายนมผสมกับน้ำคนให้เข้ากันใส่ลงในโถเตรียมปั่น แล้วหั่นกล้วยหอมลงไป แล้วปั่นให้เข้ากัน จนเนื้อเนียนละเอียดดี
2.ตักใส่กล่องแช่ช่องแข็งประมาณ 30 นาที แล้วเอาออกมาขูดให้เป็นเกล็ดและปั่นใหม่อีกรอบ เมื่อเนื้อเนียนดีแล้วก็เอาไปแช่แข็งอีกครั้ง
Tip :
ผลไม้ที่นำมาเป็นส่วนผสม คุณแม่สามารถดัดแปลงไปได้ตามฤดูกาล หรือจะใส่เนื้อผลไม้อื่นลงไปหลาย ๆ ชนิดก็จะเพิ่มธรรมชาติ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก