
‘สำลักอาหาร’ เรื่องควรระวังของเจ้าหนูวัยซน (Mother&Care)
เด็กเล็กในช่วงวัย 1-3 ปีนี้ สามารถเรียกได้เต็มปากเต็มคำว่าเป็นช่วงของ "เด็กวัยซน" พวกเขาสามารถทำให้คุณพ่อคุณแม่มีเหตุการณ์ลุ้นระทึก ใจหายใจคว่ำได้ไม่เว้นแต่ละวัน แม้แต่ "ยามกิน" คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องระวังเป็นอย่างยิ่งเพื่อไม่ให้เจ้าจอมซนประจำบ้านมีอาการที่เรียกว่า "สำลักอาหาร"
โดยมากอาการสำลักมักเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี เนื่องจากเด็กในช่วงวัยนี้มักมีความอยากรู้อยากเห็น และชอบหยิบสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ไปใส่ในช่องจมูกหรือเอาเข้าปาก อีกทั้งเด็กในวัยนี้การเติบโตของฟันกรามยังขึ้นไม่ครบสมบูรณ์ จึงทำให้การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดเพียงพอ จนอาจส่งผลให้มีอาการสำลักอาหารได้ และด้วยความที่ยังเป็นเด็กเล็ก ทางเดินหายใจยังมีขนาดเล็ก ดังนั้น แม้เพียงอาหารชิ้นเล็ก ๆ หากหลุดเข้าไปอุดกั้นก็อาจทำให้เป็นอันตรายถึงขั้นร้ายแรงได้ด้วย เหตุนี้จึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ในการป้องกันการสำลักอาหารของเด็ก ๆ ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

โดยมากอาหารที่มีรูปร่างยาวๆ คล้ายหลอด หรือมีลักษณะเป็นวงกลม วงรี มักจะทำให้เด็ก ๆ สำลักอยู่บ่อยครั้ง เช่น ไส้กรอก เส้นก๋วยเตี๋ยว องุ่น แครอท ถั่ว ลูกอม เป็นต้น ดังนั้นคุณพ่อ คุณแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด

เวลาที่จัดแบ่งของกินให้เด็ก ๆ ได้ตัก หรือหยิบกินเอง คุณพ่อคุณแม่ควรตักแบ่งให้แต่น้อย อาจให้แค่ 1-2 ชิ้น และค่อยเติมเข้าไปใหม่เมื่อเด็ก ๆ ต้องการเพิ่ม เพราะหากให้ในปริมาณที่มากเกินไป เด็ก ๆ ก็จะตักหรือหยิบเข้าปาก และเคี้ยวกลืนเข้าไปในครั้งเดียว ซึ่งจะส่งผลให้มีการสำลักอาหารได้ง่าย

ของกินที่มีขนาดเล็กหรือถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กเกินไป อาจหลุดเข้าไปอุดในหลอดลมของเด็ก ๆ ได้ ในขณะที่ของกินที่มีชิ้นใหญ่เกินไปก็จะทำให้เด็ก ๆ เคี้ยวได้ยากลำบาก และทำให้สำลักได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ ควรหั่นให้เป็นชิ้นขนาดพอดีคำของลูก และไม่ควรมีขนาดใหญ่กว่าครึ่งนิ้ว

เด็กในวัยนี้ยังเล็กเกินไปที่จะหยิบ หรือคายสิ่งแปลกปลอมออกมาได้เอง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ ที่ต้องกำจัดสิ่งเหล่านี้ออกไปให้หมดก่อนที่จะนำมาให้เด็ก ๆ กิน เช่น เปลือกองุ่น เปลือกแอปเปิล เมล็ดแตงโม เมล็ดองุ่น ก้างปลา กระดูก เป็นต้น





จากลักษณะของกินที่กล่าวมาข้างต้น ของกินบางอย่างก็ควรหลีกเลี่ยงไม่นำมาให้เด็ก ๆ กิน เช่น หมากฝรั่ง ลูกอม ข้าวโพดคั่ว หรือเยลลี่ ในขณะที่ของกินบางอย่างที่มีประโยชน์ก็ยังจำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่จะนำมาปรุงให้เด็ก ๆ กิน เพียงแต่ว่าต้องหั่น ตัด และปรุงให้เหมาะกับเด็ก ๆ เช่น ผัก ก็ควรต้มหรือผัดให้สุก เพื่อให้มีเนื้อนิ่ม เนื้อสัตว์ที่นำมาทำให้เด็ก ๆ กินก็ควรปรุงให้สุก หั่นชิ้นพอดีคำ เลือกเนื้อสัตว์ที่มีเนื้อนุ่ม เคี้ยวง่าย เช่น เนื้อปลา หรือเนื้อไก่ เส้นก๋วยเตี๋ยว ก็ควรตัดแบ่งให้สะดวกในการตักกินของเด็ก ๆ เป็นต้น

การกินอาหารของเด็ก ๆ ควรเป็นในรูปแบบที่ให้เด็ก ๆ ได้นั่งกินอย่างสบาย ๆ อาจนั่งร่วมโต๊ะ กินพร้อมกับคุณพ่อคุณแม่ โดยไม่มีสิ่งเร้าอื่น ๆ จากรอบข้าง มาดึงดูดความสนใจหรือมาทำให้เด็ก ๆ ไม่อยู่นิ่ง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงบรรยากาศการกินของเด็ก ๆ ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เจ้าจอมซนสำลักอาหารได้




เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ จึงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจ แม้จะเป็นของกินชิ้นเล็ก ๆ แต่ก็อาจทำให้เป็นปัญหาใหญ่ได้ ดังนั้นการดูแลอย่างใกล้ชิดจึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Vol.9 No.103 กรกฎาคม 2556