
การเปลี่ยนแปลงก่อนการเจ็บท้องคลอด (รักลูก)
การเจ็บท้องคลอดนั้นนับเป็นกระบวนการตามธรรมชาติที่จะนำชีวิตใหม่ให้ออกมาเห็นโลกภายนอก ก่อนที่จะเจ็บท้องต้องมีการหดรัดตัวของมดลูก รวมทั้งมีการเปิดขยายของปากมดลูก ซึ่งแบ่งตามการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อมดลูกและปากมดลูก เริ่มตั้งแต่ระยะก่อนเจ็บครรภ์ระยะเตรียมมดลูกเพื่อการเจ็บครรภ์ ระยะเจ็บครรภ์คลอด และระยะกลับคืนสู่ภาวะปกติ




การเจ็บครรภ์ลวงนั้น มดลูกจะหดรัดตัวไม่สม่ำเสมอ ช่วงระยะห่างของการหดรัดตัวแต่ละครั้งจะนาน ความแรงของการหดรัดตัวจะเท่าเดิมไม่เพิ่มขึ้น อาการปวดส่วนใหญ่จะอยู่ที่บริเวณท้องน้อย หากตรวจภายในจะพบว่าปากมดลูกไม่บางตัวหรือเปิดเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถทำให้ลดลงหรือหายด้วยการให้ยาแก้ปวด
การเจ็บครรภ์จริง มดลูกจะหดรัดตัวอย่างสม่ำเสมอ ค่อย ๆ ถี่และแรงขึ้นเรื่อย ๆ อาจทุก 15 นาที และต่อมาก็ทุก 5 นาที อาการเจ็บก็มากขึ้น อาการปวดจะเริ่มจากบริเวณยอดมดลูกและร้าวไปด้านหลัง ถ้าตรวจภายในจะพบว่าปากมดลูกบางตัว และเปิดเพิ่มมากขึ้น การให้ยาแก้ปวดในขนาดที่เหมาะสมนั้น ไม่มีผลต่ออาการเจ็บ แม้กระทั่งการให้ยาชาเฉพาะที่เข้าไขสันหลังก็ไม่สามารถลดความแรงและความถี่ของการหดรัดตัวของมดลูกได้
นอกจากนี้ยังมีอาการแสดงดังนี้ ได้แก่ มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด และถุงน้ำคร่ำแตก ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัว แล้วความดันภายในถุงน้ำคร่ำสูงขึ้นทำให้ถุงน้ำคร่ำแตก
คุณแม่ที่รู้สึกว่ามีน้ำใส ๆ คล้ายน้ำปัสสาวะไหลออกมาทางช่องคลอด ควรจะรีบมาโรงพยาบาล เนื่องจากในกรณีที่ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว ตาส่วนนำของเด็กยังไม่เข้าสู่เชิงกราน อาจทำให้เกิดภาวะสายสะดือย้อยซึ่งเป็นอันตรายทั้งต่อลูกในท้องได้ อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ คุณแม่อาจเกิดการเจ็บครรภ์ตามมาในไม่ช้าหลังจากถุงน้ำคร่ำแตก และถ้าการคลอดเนิ่นนานออกไปโดยเฉพาะหลังจากถุงน้ำคร่ำแตกนานเกิน 24 ชั่วโมง ก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในโพรงมดลูกตามมาได้ แต่ในกรณีที่ถุงน้ำคร่ำแตกโดยไม่มีการเจ็บครรภ์ตามมาถือว่าเป็นภาวะสูติศาสตร์ผิดปกติ ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง

สาเหตุของการปวดในขณะที่มดลูกมีการหดรัดตัว ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกิดจากมีการกดของปมประสาทที่ปากมดลูก และส่วนล่างของมดลูก เนื่องจาก…





คือการบางตัวของปากมดลูก ปกติในครรภ์ครบกำหนดปากมดลูกจะยาวประมาณ 2 เซนติเมตร เมื่อความยาวของปากมดลูกลดลงครึ่งหนึ่งแสดงว่าการบางตัวลงร้อยละ 50 ถ้าปากมดลูกบางตัวลงจนบางพอๆ กับแผ่นกระดาษ แสดงว่ามีการบางตัวจนสมบูรณ์แล้วนั่นเอง
การเปิดออกของปากมดลูกก็เพื่อให้ส่วนนำของทารก เคลื่อนผ่านออกมา ซึ่งจะทราบได้โดยการตรวจภายใน และใช้นิ้วคุณหมอวัดระยะห่างจากขอบของปากมดลูกด้านหนึ่งไปยังขอบอีกด้านหนึ่ง กะระยะห่างเป็นเซนติเมตร ซึ่งปากมดลูกต้องเปิดเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร ศีรษะของทารกจึงจะโผล่ออกมาได้
ในคุณแม่ท้องแรกปากมดลูกจะบางตัวเต็มที่ก่อน จึงจะเริ่มเปิดซึ่งมักเกิดขึ้นก่อนการเจ็บครรภ์จริง และเมื่อเจ็บครรภ์ก็จะทำให้ปากมดลูกเปิดออก และศีรษะของทารกจะถูกแรงหดรัดตัวดันให้เคลื่อนลงมาในช่องเชิงกรานอย่างช้า ๆ
ส่วนในท้องหลัง ๆ ปากมดลูกบางตัวและเปิดออกพร้อมกันเมื่อมีการหดรัดตัวของมดลูกขณะเจ็บครรภ์ และศีรษะทารกจะเคลื่อนต่ำลงในช่องทางคลอด ซึ่งจะเร็วมากในบางครั้ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
