
ทำฟันขณะท้อง...ได้ไหมนะ (Mother&Care)
เรื่อง : แม่ออมจัง
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ในช่วงตั้งครรภ์ ส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเปลี่ยนไป ปากและฟันของคุณแม่ก็เช่นกัน เพื่อคลายความสงสัย จัดการปัญหาให้ถูกวิธี เรามีคำตอบเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพช่องปาก ที่คุณแม่ควรรู้มาบอกค่ะ
ปัญหา อาการที่พบได้

ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) ที่สูงขึ้นทำให้หลอดเลือดขนาดเล็กของเหงือกเปลี่ยนแปลง มีลักษณะบวมแดง เพราะมีเลือดคั่งอยู่บริเวณนั้น ทว่าการบวมที่เกิดขึ้นไม่ส่งผลอันตราย แต่อย่างใดและหายได้เองในช่วงหลังคลอด

กรดจากอาหารที่คุณแม่กิน จะเกาะผิวฟันอย่างน้อย ประมาณ 20 นาที ดังนั้น หากดูแลทำความสะอาดฟันได้ไม่ทั่วถึง อาจทำให้เกิดฟันผุ และเหงือกอักเสบ โดยเฉพาะการกินอาหารระหว่างมื้อบ่อย ๆ เป็นการเพิ่มจำนวนกรดให้เกาะอยู่ที่ผิวฟัน

คราบอาหารจำพวกแป้ง และน้ำตาล จะทำให้แบคทีเรียเติบโตได้ดี เกาะอยู่ตามซอกเหงือก ซอกฟัน กลายเป็นคราบหินปูน ทำให้เหงือกอักเสบและมีเลือดออกตามไรฟัน ขณะที่คุณแม่แปรงฟัน
แม่ท้องทำฟัน

ถึงตั้งครรภ์ ก็สามารถทำฟันได้ค่ะ เช่น อุดฟัน หรือขูดหินปูน เพราะควรรีบดูแล รักษาโดยทันที หากปล่อยไว้นานอาจมีอาการเจ็บปวด หงุดหงิด รำคาญใจ หรือทำให้ยุ่งยากในการดูแลรักษา ที่สำคัญคือ เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคที่สามารถกระจายเข้าสู่กระแสเลือด เป็นปัญหาวงกว้างได้

ช่วง 3 เดือนแรก คุณแม่อาจแพ้ท้องอาเจียนบ่อย จึงไม่ควรทำฟัน เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้หรืออาเจียนมากขึ้น น้ำย่อยจากกระเพาะมีฤทธิ์เป็นกรดจะทำลายผิวเคลือบฟัน และช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ขนาดครรภ์และรูปร่างของคุณแม่ ไม่เอื้อต่อการนั่งหรือนอนบนเก้าอี้ทำฟันเป็นแน่
นอกจากนี้ การผ่าฟันคุด การถอนฟันควรผ่านการดูแล ให้คำแนะนำจากทันตแพทย์ก่อนทำ เพราะการถอนฟันอาจทำให้เสียเลือดมาก หรือใช้เวลารักษาฟันนาน ควรเลื่อนไปทำช่วงหลังคลอดแทนค่ะ
วิธีดูแลสุขภาพช่องปาก





เสริมข้อมูลเรื่องอาหารของคุณแม่ ที่ว่าการกินอาหารยังเน้นเรื่องกินให้ครบ 5 หมู่ และควรเพิ่ม (ในปริมาณที่พอดี) อาหารประเภทโปรตีน แคลเซียม และฟอสฟอรัส เช่น นม ไ ปลาเล็กปลาน้อย หรือสร้างภูมิคุ้มกันด้วย วิตามินซี จากผัก ผลไม้ เพื่อป้องกันเลือดออกตามไรฟัน จะยิ่งเป็นประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Vol.9 No.102 มิถุนายน 2556