x close

พัฒนาการด้านการอ่านตามวัยของเด็ก ๆ

อ่านหนังสือ

พัฒนาการด้านการอ่านตามวัยของเด็ก ๆ
(Pregnancy& Baby)
เรื่อง : Aunty Wee

        หลังกลับจากโรงเรียน คุณพ่อคุณแม่ เห็นเด็ก ๆ ที่บ้านอ่านหนังสือกันได้เจื้อยแจ้ว เสียงใส เป็นอะไรที่น่าประทับใจจริง ๆ นะคะ... แต่เคยสงสัยไหมเอ่ยว่า พัฒนาการด้านนี้ของเด็ก ๆ นั้น จะเริ่มต้นตอนไหนและเมื่อไหร่ ลูกจะอ่านหนังสือได้ชัดเจนแจ่มแจ๋ว

เด็กเริ่มเรียนรู้การอ่านได้เมื่อไหร่

        การอ่านของเด็กเริ่มตั้งแต่วัยทารก โดยในช่วงวัย 6-8 เดือนแรก เด็กทุกคนเริ่มสามารถรับรู้ความแตกต่างของหน่วยเสียงที่มีอยู่ในทุกภาษาทั่วโลกได้ และก่อนอายุ 10 เดือนเด็กจะเริ่มปรับความสามารถให้เข้ากับหน่วยเสียงและไวยากรณ์ของภาษาของผู้เลี้ยงดู หลังจากอายุ 10 เดือนความสามารถดังกล่าวจะจำกัดเฉพาะอยู่ในภาษาของผู้เลี้ยงดู เช่น เด็กทารกชาวญี่ปุ่นจะมีความสามารถในการแยกแยะความแตกต่างระหว่างเสียง /r/ และ /l/ ได้ ซึ่งความสามารถดังกล่าจะจำกัดและยากมากขึ้นในผู้ใหญ่ชาวญี่ปุ่น หลังจากนั้นทักษะทางการอ่านจะมีการพัฒนาต่อเนื่องไปตลอดชีวิต

วัยไหนเรียนรู้อะไรบ้างเรื่องการอ่าน

        จากการศึกษาของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนเรื่องการแยกแยะเสียงของคำพูด อันเป็นปัจจัยหลักขั้นพื้นฐานสำหรับการอ่าน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจะมีการเชื่อมโยงเสียงกับตัวอักษร และการอ่านสะกดคำต่อไป ซึ่งต่างจากระบบการเรียนการสอนอ่านภาษาไทยในปัจจุบันที่ไม่ได้เน้นเรื่องของทักษะการแยกแยะเสียงตั้งแต่ช่วงชั้นปฐมวัย แต่จะเน้นเรื่องของการสอนพยัญชนะ แม้การเชื่อมโยงเสียงต้นกับตัวพยัญชนะ ซึ่งควรพิจารณาปรับใช้และสังเกตการณ์ให้เหมาะสม

วัยทารก (infant) : 1 ขวบปีแรก

        6-8 เดือนแรกเด็กทุกคนเริ่มสามารถรับรู้ความแตกต่างของหน่วยเสียงที่มีอยู่ในทุกภาษาทั่วโลกได้

        ก่อนอายุ 10 เดือนเด็กจะเริ่มปรับความสามารถให้เข้ากับหน่วยเสียงและไวยากรณ์ของภาษาแม่หรือผู้เลี้ยงดู

        หลังจากอายุ 10 เดือนความสามารถดังกล่าวเริ่มจำกัดการพัฒนาอยู่เฉพาะในภาษาแม่

วัยเตาะแตะ (toddler) : 1-3 ปี

        เด็กให้ความสนใจเสียงที่เด็กไม่สามารถพูดได้

        แสดงความสนใจเสียงหรือกลุ่มเสียงที่เหมือนกันเมื่อมีการอ่านกลอน หรือเล่าเรื่องนิทานที่มีคำคล้องจอง

        เริ่มมีการเชื่อมโยงเสียงกับตัวอักษร เช่น เมื่อเด็กอ่านหนังสือกับผู้เลี้ยงดู เด็กจะชี้และพยายามออกเสียงตามตัวอักษร หรือใช้คำจากภาษาพูดเพื่อเชื่อมโยงเสียงกับตัวอักษร เช่น /d/daddy, /b/bee, /ก/ไก่, /จ/จาน

วัยก่อนเรียนระยะต้น

(early preschool) : อายุ 3-4 ปี

        มีความสนใจเสียงต่าง ๆ ของภาษา โดยเฉพาะ "คำคล้องจอง" (rhyme) ที่มีในเพลง

        บอกตัวอักษรได้ 10 ตัว โดยเฉพาะตัวอักษรที่อยู่ในชื่อของเด็ก

วัยก่อนเรียนระยะปลาย

(late preschool) : อายุ 4-5 ปี

        สามารถแยกพยางค์ในคำที่ฟังได้ (ร้อยละ 50 เด็กสามารถบอกจำนวนพยางค์ในคำที่ฟังได้) wa แก้ว-น้ำ, water (เช่น แก้วน้ำ-ter เป็นคำที่มีสองพยางค์ เป็นต้น)

        เริ่มแยกหน่วยเสียงย่อย ในคำที่ฟังได้ (ร้อยละ 20 เด็กสามารถบอกจำนวนหน่วยเสียงย่อยในคำที่ฟังได้)

วัยอนุบาลตอนต้น

(beginning kindergarten) : อายุ 5-5 ½ ปี

        สามารถเปรียบเทียบคำสองคำที่ฟังว่าคล้องจองกันหรือไม่ (เช่น กา-ขา, cat-bat)

        สามารถบอกคำที่มีเสียงคล้องจองกับคำที่ฟังได้

        สามารถบอกตัวอักษรได้เกือบทุกตัว





ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Vol.4 ISSUE 30 มกราคม 2555

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
พัฒนาการด้านการอ่านตามวัยของเด็ก ๆ อัปเดตล่าสุด 8 มีนาคม 2555 เวลา 15:47:25 2,560 อ่าน
TOP