อาการร้อนใน ... ในเด็ก



         แผลร้อนในปาก หรือ ที่เรียกอีกอย่างว่า "อาการร้อนใน" ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับลูกน้อยตั้งแต่วัยเด็กเล็กไปจนถึงวัยก่อนเข้าเรียน ถึงแม้จะเป็นอาการหรือโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่สำหรับลูกน้อยแล้ว อาการเจ็บป่วยเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ทำให้หัวใจคนเป็นแม่กังวลมากอยู่เหมือนกัน
 
         ลักษณะของแผลในปากเด็ก จะมีลักษณะเป็นแผลขาวๆ สามารถเกิดได้ที่ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก ลิ้น หรือแม้กระทั่งเหงือก หากมีแผลเพียง 1 แผล และไม่มีอาการเป็นไข้ร่วมด้วย ก็จะดีขึ้นตามลำดับ แต่หากลูกน้อยมีหลายแผลและมีอาการเป็นไข้ร่วมด้วยก็ควรพาไปพบแพทย์

วิธีสังเกตอาการร้อนในในเด็ก

        ลูกน้อยดื่มน้ำมากขึ้นกว่าปกติ

        ไม่เคี้ยวอาหาร เนื่องจากเกิดอาการเจ็บปาก

        ลมหายใจมีไอร้อน

        เจ็บคอ

        ในเด็กบางรายเปลี่ยนวิธีการหายใจจากทางจมูกเป็นการหายใจทางปากแทน

สาเหตุการเกิดร้อนใน (แผลในปาก)

        ติดเชื้อไวรัส กลุ่ม เอ็นเทอโรไวรัส

        ระบบภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอลง กำลังไม่สบาย

        ทานอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนมากเกินไป

        ลูกน้อยกัดปากตนเอง

        ขาดสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ โดยเฉพาะ ธาตุเหล็ก โฟเลต วิตามินบี 12

วิธีการป้องกันการติดเชื้อสำหรับเด็ก

         วิธีการป้องกันที่ดีทีสุดคือการรักษาสุขอนามัย เช่น ล้างมือให้สะอาด เช็ดหรือทำความสะอาดช่องปาก สำหรับลูกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ ไม่ควรใช้น้ำเพื่อล้างคราบนมออก เนื่องจากน้ำนมแม่มีสารต้านการเติบโตของเชื้อรา ส่วนเด็กที่ดื่มนมผสมควรให้ดื่มน้ำตามมาก ๆ เพื่อล้างคราบนมออก เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยดูแลรักษาความสะอาดในช่องปาก

         ไข้ขนาดไหนถึงเรียกว่ามีไข้สูง ? (อุณหภูมิร่างกายของเด็กที่ควรรู้)

         "ไข้สูง" เมื่ออุณหภูมิร่างกายลูกน้อยสูงถึง 39 องศาฯ สำหรับคุณแม่นับเป็นความกังวลใจอย่างมาก

แม่และเด็ก

วิธีลดไข้

         สำหรับลูกน้อยสามารถทำได้หลายวิธี วิธีแรกที่ง่ายและสามารถทำได้เร็วที่สุดคือ

        การเช็ดตัว ควรเช็ดด้วยน้ำที่มีอุณหภูมิระหว่าง 27-37 องศาเซลเซียส และไม่ควรเกิน 40 องศาเซลเซียส จะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวช่วยระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้น โดยเช็ดบริเวณหน้า และพักไว้ที่ซอกคอ หลังหู ,หน้าผาก, แขนทั้ง 2 ข้าง , รักแร้ , ลำตัว หน้าอก ทำสลับกันโดยให้ชุบน้ำบิดหมาด ๆ ทุกครั้งที่เปลี่ยนบริเวณ นอกจากนี้คุณแม่ควรเช็ดตัวแต่ละรอบนานประมาณ 15-20 นาที จนรู้สึกว่าตัวเด็กเย็นลง

        ดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยชดเชยน้ำส่วนที่ร่างกายสูญเสียเพิ่มขึ้นในระหว่างที่มีไข้

        ใส่เสื้อผ้าโปร่งสบาย เพื่อระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้น

          ให้ยาลดไข้ หรือยาพาราเซตามอล สำหรับเด็ก คุณแม่ควรคำนวณปริมาณการให้ยาของลูกดังนี้ โดยทั่วไปควรใช้ยาปริมาณ ตั้งแต่ 10 มิลลิกรัม - 1,000 มิลลิกรัม ในแต่ละครัง หรือใช้ยาน้ำสมุนไพรที่ช่วยลดร้อนในสำหรับเด็กได้

ยาน้ำแก้ร้อนในเขากุย ตราอ้วยอันโอสถ


 
**สนับสนุนโดย ยาน้ำแก้ร้อนในเขากุย ตราอ้วยอันโอสถ
- kaokuiouayun.com, Facebook : ouayunkids


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
อาการร้อนใน ... ในเด็ก อัปเดตล่าสุด 26 พฤษภาคม 2558 เวลา 18:34:08 28,504 อ่าน
TOP
x close