x close

ตรวจเช็คพัฒนาการของหนู



ตรวจเช็คพัฒนาการของหนู
(M&C แม่และเด็ก)

          เรื่องพัฒนาการของลูก ก็เป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องหมั่นตรวจเช็คอยู่เสมอ ซึ่งเด็กแต่ละคนก็มีพัฒนาการที่ไม่เหมือนกันค่ะ ยิ่งในวัยนี้ด้วยแล้ว

          เรื่องพัฒนาการของลูก ก็เป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องหมั่นตรวจเช็คอยู่เสมอ ซึ่งเด็กแต่ละคนก็มีพัฒนาการที่ไม่เหมือนกันค่ะ ยิ่งในวัยนี้ด้วยแล้ว พัฒนาการทุกด้านจะเป็นไปอย่างก้าวกระโดด ซึ่งเค้าเริ่มจะเข้าในเรื่องเหตุผลมากยิ่งขึ้น เช่น ขว้างปาสิ่งของออกจากตัวเพื่อทดสอบความเข้าใจของตนเอง แต่ถ้าพ่อแม่แสดงอารมณ์โกรธ เค้าจะรีบหยุดการกระทำนั้นทันที เพราะเข้าใจภาษาท่าทางได้แล้วค่ะ

ทักษะด้านการเคลื่อนไหว

          ใช้กล้ามเนื้อมือได้คล่องแคล่วขึ้น สามารถวางวัตถุไว้บนอีกชิ้นนึงได้
 
          เดินด้วยตัวเองได้ 2-3 ก้าว แต่ชอบคลานมากกว่า เพราะสามารถเคลื่อนไหวไปได้อย่างรวดเร็วกว่าการเดินที่ยังไม่ค่อยถนัดเท่าไหร่นัก

          ยืนแล้วย่อตัวเองลงนั่งได้ โดยไม่หงายเก๋งไปข้างหลังอีกแล้ว

          ลุกขึ้นยืนได้เอง และเดินได้ดีถ้าเกาะราวหรือขอบตู้ ดังนั้น ควรระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยมากๆ ค่ะ

พัฒนาการทางสังคมและอารมณ์

          เริ่มติดเฉพาะคนใกล้ชิดเป็นพิเศษ เช่น พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย หรือพี่เลี้ยง และเริ่มเรียกร้องความสนใจเป็นระยะ เพราะอยากให้คนพิเศษของเค้าอยู่ใกล้ตัวตลอดเวลา

          แสดงอารมณ์ว่า ชอบหรือไม่ชอบใครบางคนอย่างเห็นได้ชัด เรียกว่า มีอารมณ์ที่หลากหลายมากขึ้นกว่าเดือนก่อน
   
          รู้จักปฏิเสธด้วยท่าทีที่ชัดเจน เช่น หนูไม่อยากหม่ำ ก็จะแสดงท่าทางส่ายหน้า ฯลฯฃ
   
          ชอบยิ้มให้กับกระจก และเต้นตามจังหวะดนตรี

พัฒนาการทางภาษา

          เวลาอารมณ์ดี ก็จะชอบพูดมากเป็นพิเศษ โดยจะบ่นพรึมพรำและทำเสียงต่าง ๆ ที่ยังไม่มีความหมาย

          ตอบสนองต่อคำสั่งง่าย ๆ ได้แล้ว เช่น คำว่า "หยุด" , "ห้าม" ฯลฯ

          สนใจในสิ่งที่ผู้ใหญ่พูด และพยายามเลียนแบบด้วยการพูดตาม เช่น ชอบพูดทางโทรศัพท์ เป็นต้น

          เมื่อถึงวัยขวบปีแรก ก็สามารถพูคคำแรกที่คุณพ่อคุณแม่รอคอยมานานแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นคำว่า "มาม้า" และ "ปาป๊า" ตามมาด้วยคำที่ได้ยินอยู่บ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ทุกวัน เช่น "บ๊ายบาย" ,"ดี","หม่ำหม่ำ" อย่างนี้เป็นต้นค่ะ

สิ่งที่พ่อแม่ต้องเอาใจใส่

          ความปลอดภัย ต้องหมั่นตรวจตราสิ่งที่เป็นอันตรายต่อเด็ก เช่น โต๊ะ เตียง เก้าอี้ ปลั๊กไฟ ฯลฯ

          พูดคุยกับเด็กบ่อย ๆ อาจชี้ให้ดูภาพในหนังสือ หรือเวลาเดินเล่นนอกบ้าน ก็ชี้ให้ดูสิ่งที่น่าสนใจ

          สอนว่า สิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ ด้วยการบอกหรือทำท่าทางให้รับรู้ เช่น เมื่อลูกน้อยทำในสิ่งไม่ควรทำก็ควรจับตัวไว้ มองด้วยสีหน้าจริงเป็นการห้าม

          เมื่อลูกทำในสิ่งที่ดีก็ควรกล่าวชม โอบกอด หรือตบมือให้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าวซ้ำอีก


 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเช็คพัฒนาการของหนู อัปเดตล่าสุด 28 มีนาคม 2555 เวลา 15:36:27 1,107 อ่าน
TOP