x close

การนอน เป็นตัววัดความฉลาดในอนาคต จริงหรือ ?



          มีอะไรซ่อนอยู่ในการนอนของเด็ก … ทั้งกลางวันกลางคืน การนอน เป็นตัววัดความฉลาดในอนาคต จริงหรือ ?

          คุณแม่หลายคนอาจมีคำถามจากตัวเองว่า ลูกฉันเอาแต่นอนจะฉลาดเท่าลูกคนอื่นไหม

          ไขความลับที่อยากเปิดเผยให้คุณแม่รู้ถึงการนอน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ ความจำ โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุ น้อยกว่า 2 ปียิ่งสำคัญ เพราะสมองพัฒนาอย่างรวดเร็ว ขึ้นกับ 3 ปัจจัยหลัก

         1. ความรักและการเอาใจใส่ของพ่อแม่

         2. การนอน 

         3. โภชนาการที่ดีได้แก่ โปรตีนคุณภาพ อาทิเช่น แอลฟา-แล็คตัลบูมิน DHA โคลีน ลูทีน เป็นต้น

กลางวัน กลางคืน ส่งผลต่อ การเรียนรู้ ความจำและIQ

          คุณพ่อคุณแม่ทุกคน นอกเหนือจากการให้ความรักแล้ว ควรให้ความสำคัญกับโภชนาการและการนอน เพราะเกือบ 70 % ของเด็กแรกเกิดถึง 1 เดือน เป็นการนอน ซึ่งแตกต่างจากผู้ใหญ่ที่ใช้เวลานอนเพียง 30% ความรู้ทางการแพทย์ที่ทันสมัย (จากการตรวจคลื่นสมอง การหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ และพฤติกรรม) ทำให้เราทราบว่า ขณะเด็กหลับ สมองไม่ได้หลับ แต่มีการเร่งพัฒนาระบบประสาท ช่วยในการเรียนรู้ ความจำ จึงกล่าวได้ว่าในเด็ก การนอน เป็นตัววัดความฉลาด (cognition) ความสามารถในความจำ ในอนาคต เพราะ 80% ของสมองของเด็กมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่ในครรภ์ถึง 2 ขวบปีแรก เด็กทุกคนควรได้รับนมแม่เพราะในนมแม่มีสารอาหารครบ โดยเฉพาะโปรตีนคุณภาพชื่อแอลฟา-แล็คตัลบูมิน ซึ่งจะให้กรดอะมิโนจำเป็นครบโดยเฉพาะ ทริปโตเฟน ใช้ในการสร้างสารสื่อประสาทที่ช่วยในการนอน  ความเข้มข้นของทริปโตเฟนในนมแม่มีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นลง ขึ้นกับอายุของลูกที่ดูดนมแม่ ช่วงเวลาที่ลูกดูดนมแม่ (กลางวัน กลางคืน) ซึ่งจะมีมากช่วงกลางคืน และช่วยในการนอนของเด็ก และพัฒนาการเรียนรู้ ความจำ IQ  มีการศึกษาในเด็กที่กินนมที่มีทริปโตเฟนสูง จะมีการนอนที่มีประสิทธิภาพและนอนนานกว่า



  ไม่เชื่อ ... นอนพัฒนาสมอง !!!

          ทารกในครรภ์มารดา มีพัฒนาการนอนไปพร้อมๆกับการพัฒนาสมอง สร้างเซลล์ประสาทส่วนกลาง ซึ่งการนอนจะมีการพัฒนาต่อเนื่องจนมีแบบแผนการหลับ กลางวัน กลางคืน ใกล้เคียงเด็กโต เมื่ออายุประมาณ 5-6 เดือน พัฒนาการนอนเปลี่ยนไปตามวัย ซึ่งสัมพันธ์กับการพัฒนาเซลล์สมอง ส่งผลถึงความพร้อมในการเรียนรู้ ความจำและความฉลาดของเด็ก ดังนั้น ความฉลาด เรียนรู้ ความจำ และ IQ ของเด็กขึ้นกับหลายปัจจัย สิ่งสำคัญที่เด็กแรกเกิดทุกคน ควรได้คือ นมแม่เพราะมีสารอาหารครบ ที่ช่วยพัฒนาสมอง โดยเฉพาะโปรตีนคุณภาพ เช่น แอลฟา-แล็คตัลบูมิน ย่อยและดูดซึมง่าย รวมทั้งให้กรดอะมิโนจำเป็นครบ โดยเฉพาะให้ทริปโตเฟนสูง ช่วยในการเจริญเติบโต พัฒนาสมอง ช่วยการเรียนรู้ทั้งกลางวันและกลางคืน ร่วมกับ สารอาหารสำคัญอื่นๆเช่น ไขมัน ดีเอชเอ ลูทีน โคลีน ไอโอดีน ธาตุเหล็ก เป็นต้น






ข้อมูลอ้างอิง
Sleep and the Developing Brain. SLEEP 30(9);1213-19





Tag - แอลฟา-แล็คตัลบูมิน, แอลฟา, อัลฟา, อัลฟาแลคตัลบูมิน, พัฒนาการเด็ก, พัฒนาสมอง, กลางวันกลางคืน, นมผง, s-26, เอส26



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
การนอน เป็นตัววัดความฉลาดในอนาคต จริงหรือ ? อัปเดตล่าสุด 21 พฤษภาคม 2558 เวลา 10:37:12 3,956 อ่าน
TOP