x close

4 ทิป สยบอาการดื้อรั้น

baby

4 ทิป สยบอาการจ้าวโลก (M&C แม่และเด็ก)

          เรียนไว้เป็นอันดับแรก เด็กแต่ละคนต่างก็มีอุปนิสัยแตกต่างกันไป ขนาดพี่น้องที่คลานตามกันมา บางทีนิสัยยังต่างกันอย่างชัดเจน แม้กระทั่งฝาแฝดที่เกิดก่อนและหลังไม่กี่นาทีก็ตามค่ะ ดังนั้น การเลี้ยงดูจึงถือเป็นความสามารถเฉพาะตัวอย่างหนึ่งของคุณพ่อคุณแม่ ยิ่งในเฉพาะความดื้อรั้น เอาแต่ใจด้วยแล้ว ก็ย่อมแตกต่างกันออกไป

อารมณ์หนูวัยนี้

          พัฒนาทางด้านร่างกายก็หายห่วงค่ะ เด็กผู้ชายก็จะชอบเล่นอะไรโลดโผนมากขึ้น อย่างพวกเตะฟุตบอล กระโดดตีลังกา ปีนป่ายต้นไม้ ส่วนเด็กผู้หญิงก็จะเรียบร้อยสักหน่อย ในวัยนี้จะชอบเล่นสมมุติมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกับตุ๊กตาตัวโปรด แล้วสมมุติเป็นสัตว์ตัวโน้นตัวนี้ หรือเลียนแบบพฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่ต่าง ๆ แสดงราวว่า ตุ๊กตาเป็นเหมือนเพื่อนที่มีชีวิตคนหนึ่งของเขานั่นเอง

          เด็กวัยนี้ จะมาพร้อมกับคำว่า "ทำไม" เพราะเขาข้ามผ่านวัยที่อัดอั้นไม่สามารถสื่อสารอย่างที่ต้องการได้ชัดเจนมากนัก มาสู่วัยที่เข้าใจภาษาและฝึกพูดประโยคยาวๆ ได้มากขึ้น ทำให้เกิดอาการปล่อยของค่ะ ชอบซักชอบถามในสิ่งที่พบเห็น แปลกใจในเชิงเหตุผลไปเสียทุกเรื่อง จนบางทีพ่อแม่ก็อึ้งกิมกี่ไปห้าวินาทีก็มี กับคำถามหลุดโลกของคุณลูกค่ะ
ส่วนทางด้านอารมณ์แล้ว เขาจะเริ่มมีลักษณะนิสัยเหมือนผู้ใหญ่ คือ โกรธ อิจฉา ก้าวร้าว กลัว พอใจหรือไม่พอใจ ฯลฯ การแสดงความโกรธ ก็อาจมีหลายระดับ ตั้งแต่กรีดร้อง ดิ้นกับพื้น ทำร้ายข้าวของ จนสุดท้ายทำร้ายตัวเองก็พบเห็นบ่อย ๆ ค่ะ

5 ไม้ตายสยบอาการจ้าวโลก

          อย่างที่เรียนให้ทราบเด็กแต่ละคนก็มีนิสัยแตกต่างกันไป การสยบพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่างๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องเรียนรู้ร่วมไปกับลูกค่ะ เวลาอยู่ร่วมกับลูกมากเท่าไหร่ เราก็จะเข้าใจในตัวลูกมากเท่านั้น

        ขี้งกของสุด ๆ เรามักพร่ำสอนลูกบ่อย ๆ ว่าเด็กที่รู้จักการแบ่งปัน ก็จะมีเพื่อนเยอะๆ ใครก็อยากมาเล่นด้วย ซึ่งเด็กในวัยนี้ยังไม่เข้าใจมากนักหรอกค่ะ เรื่องน้ำใจ มิตรภาพ คุณงามความดีต่าง ๆ การสอนที่แยบยลที่สุด ก็ต้องแบบค่อยเป็นค่อยไปค่ะ ในระยะแรกลูกอาจทำเพราะได้รับการเสริมแรง เช่น คำชื่นชมของผู้ใหญ่ หรือการได้รับการแบ่งปันจากเพื่อนๆ ตอบแทนกลับมา แต่เมื่อทำไปนานๆ เขาจะเริ่มรู้สึกดีกับการแบ่งปันติดเป็นนิสัยจนเติบโต

        ซนจนพ่อแม่ไม่ได้พัก เห็นเด็กบางคน ซนเสียจน นั่งคิดเล่น ๆ ว่า เราอยู่แค่เพียงไม่กี่นาที ยังเหนื่อยหัวใจขนาดนี้ ปวดหมองตึบ ๆ เพราะอยู่ไม่สุขแม้สักนาที แล้วพ่อแม่ของเด็กล่ะ จะขนาดไหนนะ คิดแล้วปวดหมองแทนเลยค่า โดยเฉพาะเด็กบางคนซนจนพ่อแม่สันนิษฐานว่า เป็นโรคสมาธิสั้นหรือเปล่าน้า ลูกเรา ซึ่งจริง ๆ โรคสมาธิสั้นค่อนข้างมีรายละเอียดเยอะค่ะ ควรให้คุณหมอผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้วินิจฉัยจะดีกว่า ส่วนคุณพ่อคุณแม่ ถ้าหากเห็นว่า ลูกซนมากนัก ก็อาจหากิจกรรมที่ลูกชอบ และสามารถอยู่นิ่งได้เวลานาน ๆ อย่างพวกงานศิลปะ เล่านิทาน หรือกิจกรรมการเล่นต่าง ๆ ในมุมสงบให้ลูกเล่นบ่อย ๆ ก็ช่วยฝึกเรื่องสมาธิได้ดีในระดับหนึ่งทีเดียว

        ไม่ยอมกินข้าว เด็กหลาย ๆ คนติดกินขนมมากเสียจน ไม่ยอมกินข้าวกินปลา คุณพ่อคุณแม่บางคนก็อาจใช้วิธีชิล ๆ ค่อยหว่านล้อม หาของกินที่ลูกชอบหรือไม่ก็ใช้รางวัลเป็นสิ่งล่อหลอก ในขณะบางคนก็ใช้วิธีฮาร์ดคอมาก บังคับเลย กินหรือไม่กิน การทำอย่างนี้ กลับยิ่งทำให้เด็กเกลียดหรือกลัวการกินข้าวไปเลยค่ะ บางคนเกิดร้ายแรงถึงขนาดกินข้าวไม่ได้ เพราะร่างกายไม่ยอมรับ กินไปก็อ้วกออกมา หนทางแก้ปัญหา เด็กไม่ยอมกินข้าวหรือกินบ้างแต่น้อยผิดปกติ ก็มีอยู่ 3 ข้อใหญ่ ๆ ค่ะ

          หนึ่งคือ กินข้าวให้ตรงเวลา ไม่เฉพาะแค่เด็กเท่านั้น แต่หมายถึงทุกคนภายในบ้านต้องทำด้วย เด็กจะได้ไม่มีข้ออ้างได้

          สองคือ กำหนดเวลากินข้าวให้เหมาะสมและชัดเจน เช่น เด็กในวัยนี้ อาจให้เวลาแต่ละมื้อไม่เกินหนึ่งชั่วโมง ถ้าหมดเวลาก็เก็บ ทันที อาจดูเหมือนใจร้ายไปหน่อย แต่เป็นการสอนเรื่องวินัยได้ทีเดียวค่ะ

          สามคือ ลดพวกขนม อาหารไม่มีประโยชน์ ทุกวันนี้ เห็นเด็กตัวเล็ กๆ แต่ละคน หิ้วมาม่าคัพบ้าง โจ๊กคัพบ้าง เดินออกจากร้านสะดวกซื้อแล้วไม่ค่อยประทับใจ อนาคตของชาติเราหรือเนี่ย เด็กจะโตได้ยังไง อาหารสมองแทบไม่มีเลย  

        ดื้อรั้นอันดับ 1 เมื่อลูกมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่สมัยใหม่ คงไม่อยากทำโทษด้วยการตี การตีนั้นคือพฤติกรรมร้ายแรงสุด ๆ แล้ว ต้องใช้ไม้ตายอันสุดท้ายไว้เพื่อกำหราบ แต่เชื่อเถอะค่ะ ยิ่งตีเท่าไหร่ คนที่เจ็บมากที่สุดก็คือพ่อแม่อย่างเรา ๆ (แหม...คมบาดลึกจริง ๆ) แต่พฤติกรรมไม่เหมาะสมโดยทั่วไปนี่แหล่ะค่ะ พ่อแม่หลายคนเริ่มเกิดความกังวล ทำไมลูก ๆ ไม่ฟังเราเลย ตักเตือนสักแป๊บ เดี๋ยวเจ้าตัวดีก็ทำอีกแล้ว มีนักวิชาการท่านหนึ่ง พูดไว้น่าสนใจค่ะ นั่นก็เพราะเรามีเวลาให้ลูกน้อยเกินไปและกอดลูกน้อยเกินไป การให้เวลาและกอดลูกมาก ๆ ในช่วงสามปีแรก ถือว่าสำคัญที่สุด จะทำให้สายสัมพันธ์เชื่อมกับลูกนั้นแข็งแรง แน่นแฟ้น เวลาเราพูดหรือสอนอะไรก็ทรงพลังไปหมด

        ยิ่งรุนแรง ยิ่งต่อต้าน เด็กในวัยนี้ อาจมีลักษณะไม่เชื่อฟังตามที่คุณพ่อคุณแม่บอกเท่าไหร่นัก จนบางครั้งเราอาจรู้สึกท้อแท้ใจเมื่อนำไปเปรียบเทียบลูกคนอื่น จนเกิดความรู้สึกเสียหน้า ทำให้คุณควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ใช้วิธีการรุนแรงจัดการกับลูก สิ่งเหล่านี้ ยิ่งทำให้ลูกต่อต้านมากขึ้น ดังนั้นพ่อแม่ต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีก่อน หากไม่แล้ว สอนให้ตาย ลูกก็ไม่ฟังหรอกค่ะ

 คลิกอ่านความคิดเห็นของ เพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
4 ทิป สยบอาการดื้อรั้น อัปเดตล่าสุด 1 พฤศจิกายน 2554 เวลา 17:00:03 1,396 อ่าน
TOP