x close

คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม ภัยใกล้ตัวลูก

โรคซีวีเอส - คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม
ภัยร้ายใกล้ตัวลูกจากอุปกรณ์สื่อสารเสี่ยงลูกเป็นโรคซีวีเอส หรือ คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่า ...โรคซีวีเอส หรือ คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม ที่มีอยู่ในอุปกรณ์สื่อสารเป็นภัยร้ายใกล้ตัวลูก วันนี้กระปุกดอมคอมก็มีเกร็ดความรู้จากนิตยสาร Mother & Care และวิธีป้องกันดูแล รวมทั้งวิธีการใช้อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ อย่างเหมาะสม มาแนะนำคุณพ่อคุณแม่ พร้อมแล้วไปดูทริคดี ๆ ที่เรานำมาฝากกันเลยดีกว่าค่ะ^^

          กรมการแพทย์ออกโรงเตือนเรื่องแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์เจ้าปัญหาที่เราเรียกว่า แท็บเล็ต มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ มีแต่ส่งผลต่อสุขภาพของเด็กและผู้ใหญ่ มาร่วมมือป้องกันปัญหาทางออกกับเรื่องนี้กันดีกว่า

แสงสีฟ้า คืออะไร

          แสงที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน แบ่งออกได้ทั้งหมดเป็น 7 สี คือสีแดง ม่วง ส้ม เหลือง น้ำเงิน คราม และเขียว ทว่า แสงสีฟ้าจะมีความต่างค่ะ

          เป็นสีที่ให้ความสว่างมากที่สุด และทำให้ดวงตาเป็นอันตรายมากที่สุด สามารถทะลุทะลวงถึงจอประสาทตา มีพลังทำลายกระจกตาหรือจอประสาทตาได้มากกว่าแสงสีอื่น

          ความสว่างมากของแสงจะทำให้ดวงตาล้าได้ง่าย แต่หากหรี่แสงลดลงมาก ๆ ดวงตาก็จะต้องเพ่งมองหนักขึ้น อาจเกิดอันตรายได้เช่นกันหากใช้งานเป็นเวลานาน

          นอกจากนี้ ผู้ที่ใช้อุปกรณ์แสงสีฟ้าในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้ในที่มืด ปิดไฟ ก็มีความเสี่ยงของปัญหาจากแสงสีฟ้า และแสงสีฟ้าก็อยู่รอบ ๆ ตัว เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โทรทัศน์ รวมถึงงานด้านการเชื่อมเหล็ก เป่าแก้ว

แสงสีฟ้า ภัยใกล้ตัว

พฤติกรรม

         ขาดสมาธิในการทำกิจกรรม เช่น เปิดดูโทรศัพท์ เล่นเกมขณะทำการบ้าน งานที่ได้รับมอบหมาย ไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องจนเสร็จ

         อุปกรณ์ไฮเทคเป็นสิ่งเร้าที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มักเป็นสาเหตุทำให้ลูกอารมณ์ฉุนเฉียวได้ง่าย อาจนำไปสู่การโต้เถียงกัน และปัญหาอื่น ๆ ตามมา

สุขภาพ

         การใช้งานที่มากเกินความจำเป็น เช่น อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานเกิน 2-3 ชั่วโมง จะมีอาการปวดตา แสบตา ตามัว และปวดศีรษะร่วมด้วย เรียกว่าโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (ซีวีเอส)

         ส่วนใหญ่เด็กจะนั่ง ๆ นอน ๆ เล่น ทำกิจกรรม หรือออกกำลังกายน้อยลง ส่งผลให้เข้าสู่วงจรโรคอ้วนและเกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือด และหัวใจ รวมถึงปัญหาเรื่องข้อเข่า

         การใช้สายตาจดจ่อ และเพ่งในระยะเวลานาน ๆ ทำให้กล้ามเนื้อตา แก้วตาทำงานหนักทำให้ระคายเคืองต่อเยื่อตาและกระจกตา การใช้สายตาในที่ที่มีแสงไม่เหมาะสม ทำให้เกิดอาการปวดตา แสบตา และปวดเมื่อย

         ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเท่าที่ควร หรือระยะห่างจากจอภาพที่ไม่เหมาะสม ก็อาจทำให้สายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น

ป้องกันดูแลไว้ดีกว่า

1. ปรับพฤติกรรม

         ควรใช้งานในระยะเวลาที่เหมาะสม เช่น หาข้อมูล ทำรายงาน และรู้จักพักสายตาด้วย

         เล่นหรือสนุกกับกิจกรรมอื่นบ้าง เช่น เล่นกีฬา เพื่อให้ร่างกายเผาพลาญพลังงานลดปัญหาเล่นไป กินไป ก็ยิ่งทำให้นำไปสู่ภาวะอ้วนได้เร็วในที่สุด

         การป้องกัน แก้ไขกันโรคซีวีเอส คือ กะพริบตาบ่อย ๆ ขณะอยู่หน้าจอ หลับตาสักระยะหนึ่งแล้วค่อยกลับมาทำงานใหม่ และหากแสบตามากอาจใช้น้ำตาเทียมช่วย

2. ใช้อุปกรณ์ป้องกัน

         ปรับค่าความสว่างของอุปกรณ์ตามความเหมาะสม เช่น เลือกใช้โหมดสีให้สบายตาเหมาะกับสภาพแสงที่อยู่รอบตัว

         หากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค ควรใช้แผ่นกรองแสงติดหน้าจอหรือใส่แว่นกรองแสง จัดวางคอมพิวเตอร์ในระยะที่ตามองได้สบาย ๆ ปรับเก้าอี้นั่งให้เหมาะสม และไม่ควรใช้สายตาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ควรมีช่วงจังหวะในการพักสายตา

3. อาหาร

          อีกหนึ่งเรื่องดี ๆ ที่อยากบอกต่อก็คือคุณพ่อคุณแม่สามารถบำรุงสายตาลูกด้วยผัก ผลสีเหลืองหรือส้ม ที่อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนและวิตามินเอได้ค่ะ

          ที่แน่ ๆ ก็คือ คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ไฮเทค สร้างกิจกรรมดี ๆ ใช้เวลาร่วมกันกับครอบครัว มากกว่าการนั่งจดจ่ออยู่กับแสงสีฟ้าค่ะ





ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Vol.11 No.121 มกราคม 2558


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม ภัยใกล้ตัวลูก อัปเดตล่าสุด 27 มกราคม 2558 เวลา 17:43:26 3,053 อ่าน
TOP