x close

9 วิธีจูงใจให้ลูกสนการอ่าน

อ่านหนังสือ

9 วิธีจูงใจให้ลูกสน “การอ่าน”
(Mother & Care)
เรื่อง ซานาดู

           อยากให้ลูกสนใจการอ่านจนติดเป็นนิสัยเมื่อโตขึ้น ควรปลูกฝังลูกตั้งแต่วัยเบบี๋ โดยทำการอ่านให้เป็นสิ่งที่น่าเร้าใจ ซึ่งเรายังคงมีข้อแนะนำดี ๆ มาย้ำเตือน ลองดูว่าคุณทำได้หรือไม่

1.ได้เล่นสนุก

           เด็กกับการเล่นเป็นของคู่กัน หนังสือวัยนี้จึงต้องเป็นของเล่นด้วย เช่น หนังสือลอยน้ำที่ดึงความสนใจลูกได้ดี ไม่เพียงทำให้อาบน้ำง่ายขึ้น แต่ยังสร้างความรู้สึกคุ้นเคยหนังสือให้ลูกรักการอ่านได้ด้วย

2.น้ำเสียงเร้าใจ

           เสียงพ่อแม่ที่อ่านระดับสูง ๆ ต่ำ ๆ มีจังหวะไม่ช้าไป ไม่เร็วไป ออกเสียงดังฟังชัด ถึงจะฟังไม่เข้าใจ แต่ลูกก็สนใจมาก แถมลูกยังสนใจหนังสือที่ถูกอ่านโดยพ่อแม่ที่ให้ความสำคัญกับลูก ในที่สุดลูกก็เริ่มสนใจที่จะอ่านหนังสือได้เองในอนาคต

3.ท่าดีไม่มีเบื่อ

           ท่าทางของพ่อแม่ เช่น ทำมือเป็นนกบิน ดึงหูยานเป็นกระต่าย สะบัดมือเป็นใบไม้ยามต้องลม ใช้หุ่นนิ้ว หุ่นมือเล่าเรื่อง สวมที่คาดผมรูปสัตว์ สวมหมวก หน้าสัตว์ ตุ๊กตาประกอบตามท้องเรื่องจะยิ่งเพิ่มความน่าสนใจให้ลูกอยากอ่านได้ดี

4.สีหน้าน่าตื่นเต้น

           ขณะอ่านใบหน้าพ่อแม่ที่อยู่ใกล้ ถือเป็นการสื่อภาษาที่ช่วยให้ลูกจดจำน้ำเสียงและใบหน้าได้อย่างประทับใจ แล้วถ้าได้สบสายตาลูก ได้ทำสีหน้าต่าง ๆ ตามเรื่องที่อ่าน จะยิ่งช่วยให้ลูกรู้จักรับรู้อารมณ์หลากหลาย ทำให้ลูกสนใจการอ่านเช่นกัน

5.หนังสือหลากหลาย

           หาหนังสือวัยเบบี๋ที่หลากหลายให้ลูกได้รู้จักทำความคุ้นเคย จะช่วยให้ลูกสนใจการอ่านได้ เช่น หนังสือผ้า หนังสือป๊อป-อัพ หนังสือลอยน้ำ หนังสือนูนที่เย็บผ้าเป็นรูปภาพที่ลูกรู้จัก หนังสือเล่มหนา หรือ Board Books ซึ่งช่วยให้ลูกเรียนรู้ได้

6.ต้องเหมาะสม

           เลือกหนังสือให้เหมาะสมกับความสนใจของวัยเบบี๋ มีรูปเล่มที่ดึงดูดความสนใจ มีสีสันสดใส มีเนื้อหาไม่ยาวเกิน เพราะความสนใจของลูกยังอยู่ในช่วงสั้น หากเรื่องยาว แถมคนเล่าไม่ได้สอดแทรกความสนุกไปด้วย ก็จะทำให้ลูกเบื่อได้ค่ะ

7.ภาพสะดุดตา

           มีภาพสื่อให้เข้าใจง่าย ชัดเจน มีสีสันสดใส เป็นภาพเหมือนจริงที่ลูกรู้จัก เช่น สัตว์ ต้นไม้ ดอกไม้ ธรรมชาติรอบตัว เพื่อกระตุ้นให้ลูกสนใจ โดยเฉพาะเมื่อพูดคุยถึงภาพหนังสือ เช่น "มีรูปเป็ดด้วย เป็ดร้องว่าไงจ๊ะ ก้าบ ก้าบ ก้าบ ใช่ไหมเอ่ย"

8.ทนไม้ทนมือ

           ลูกวัยนี้ชอบนำหนังสือเข้าปากชิมสำรวจรสชาติ หนังสือจึงต้องปลอดภัย เป็นวัสดุ Non-Toxic ปลอดสารพิษ ลูกนำเข้าปากก็ไม่เป็นอันตราย ทำจากวัสดุที่แข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน ไม่มีมุมแหลมคมทำให้ลูกเล่นได้ชิมได้สุขใจด้วย

9.มีเสียงน่าฟัง

           หนังสือเด็กวัยนี้ควรเป็นเสมือนของเล่นมีเสียง เช่น เขย่าแล้วมีเสียง หรือกดปุ่มต่าง ๆ แล้วมีเสียงเป็นเสียงร้องของไก่ เป็ด กบ หรือเสียงธรรมชาติต่าง ๆ เพื่อดึงความสนใจให้ลูกรู้จักฟัง รู้จักแยะแยะเสียงต่าง ๆ ได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลินด้วย



            



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Vol.8 No.89 พฤษภาคม 2555

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
9 วิธีจูงใจให้ลูกสนการอ่าน อัปเดตล่าสุด 19 มิถุนายน 2555 เวลา 14:29:49
TOP